รูปแบบการนัดหยุดงานและการปิดงาน
ตอนที่ 3 การนัดหยุดงานรูปแบบสับเปลี่ยนหมุนเวียนและแบบสกัดกั้นสายการผลิต
ข้อ 4. การนัดหยุดงานแบบสับเปลี่ยนหมุนเวียน หมายถึง การนัดหยุดงานที่สับเปลี่ยนหมุนเวียนจากแผนกหนึ่งไปอีกแผนกหนึ่ง หรือจากโรงงานหนึ่งไปอีกโรงงานหนึ่ง เช่น แผนก A หยุดงานตั้งแต่วันที่ 2 4 ตุลาคม แผนก B หยุดงานตั้งแต่วันที่ 5 7 ตุลาคม ในขณะที่ลูกจ้างแผนก A กลับเข้าทำงานในช่วงระยะเวลาที่ลูกจ้างแผนก B หยุดงานเป็นต้น การนัดหยุดงานเช่นนี้หากกระทำการถูกต้องครบถ้วนตามขั้นตอนที่กฎหมายกำหนดไว้ก็เป็นการนัดหยุดงานที่ชอบด้วยกฎหมายเช่นกัน เว้นแต่จะก่อให้เกิดความเสียหายแก่นายจ้าง เช่น การทำงานที่ผิดเงื่อนไขไม่ถูกต้องหรือผิดแบบ
ข้อ 5. การนัดหยุดงานแบบสกัดกั้นสายการผลิตหรือการนัดหยุดงานแบบจุกขวด การนัดหยุดงานแบบนี้มีลักษณะเช่นเดี่ยวกับการนัดหยุดงานบางส่วน และการนัดหยุดงานแบบสับเปลี่ยนหมุนเวียน คือเป็นการนัดหยุดงานบางส่วน บางแผนก หรือเฉพาะกลุ่มบุคคลซึ่งมีความสำคัญต่อสายการผลิตขั้นต่อไป ทำให้ลูกจ้างกลุ่มอื่น แผนกอื่น หรือหน่วยงานอื่นไม่สามารถทำงานหรือดำเนินการผลิตต่อไปได้ เช่น การนัดหยุดงานของลูกจ้างหรือพนักงานโรงเก็บสินค้าหรือวัตถุดิบในการผลิต ซึ่งมีผลให้ระบบการผลิตทั้งระบบไม่สามารถดำเนินไปได้ตามปกติเนื่องจากไม่มีวัตถุดิบ เป็นต้น การกระทำเช่นนี้ถือว่าเป็นการนัดหยุดงานที่ชอบด้วยกฎหมายแรงงานสัมพันธ์เช่นเดี่ยวกับการนัดหยุดงานบางส่วนและการนัดหยุดงานแบบสับเปลี่ยนหมุนเวียนหากได้ปฏิบัติถูกต้องครบถ้วนตามขั้นตอนของกฎหมาย
โดย: กิติพงศ์ หังสพฤกษ์,บทความรูปแบบการนัดหยุดงานและการปิดงาน,(วารสารศาลแรงงาน ปีที่ 11 ฉบับที่ 4 ตุลาคม-ธันวาคม 2538)น.35-43
รวมคำพิพากษาฎีกา ตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 ทศวรรษที่ 2 (ปี พ.ศ. 2532-2542) น.163-164
22/5/2549