ReadyPlanet.com
dot dot
dot
dot
bulletขอเลิกจ้างกรรมการลูกจ้างโดยไม่จ่าย ค่าชดเชย
bulletเลิกจ้างนอกข้อยกเว้น มาตรา 123
bulletลงชื่อสนับสนุนข้อเรียกร้อง
bulletข้อตกลงที่สิ้นผลผูกพัน
bulletห้ามทำสัญญาจ้างฯขัดข้อตกลงสภาพการจ้าง
dot
dot
bulletคำวินิจฉัยของศาลที่ไม่มีเหตุผลประกอบ
bulletการปฏิบัติตามคำพิพากษา
dot
dot
bulletสิทธิในการเรียกค่าขาดไร้อุปการะ
bullet“บุตร” หมายความว่าอย่างไร ?
bulletไม่ถือว่าได้รับความเดือดร้อน
dot
dot
bulletหนังสือเตือนไม่ใช่โทษ
bulletประมาทเลินเล่อ
bulletไม่ผิดยักยอกแต่เลิกจ้างเป็นธรรม
bulletปิดกิจการชั่วคราว
bulletความหมายของคำว่า “ผู้บังคับบัญชา”
bulletทำงานแต่ละทิ้งหน้าที่
bulletต้องเลือกใช้สิทธิ
bulletการระบุเหตุผลในหนังสือบอกเลิกจ้าง
bulletการใช้สิทธิร้องพนักงานตรวจแรงงานและคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์พร้อมกัน
bulletการสละสิทธิไม่รับเงินประกัน
dot
dot
bulletฟ้องตัวแทนหางานในประเทศไทย
bulletฟ้องละเมิด
dot
dot
bulletจัดหางานไม่ได้รับอนุญาต
dot
dot
bulletประกาศคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจที่เป็นคุณต่อลูกจ้างแต่ออกภายหลังที่ลูกจ้างเกษียณอายุไปแล้ว
dot
dot
bulletศาลฎีกา
bulletศาลอุทธรณ์
bulletศาลแพ่ง
bulletศาลแพ่งกรุงเทพใต้
bulletศาลอาญา
bulletศาลแพ่งธนบุรี
bulletศาลแรงงานกลาง
bulletศาลล้มละลายกลาง
dot

dot
dot
dot
bulletกระทรวงแรงงาน
bulletกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
bulletกรมการจัดหางาน
bulletกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
bulletสำนักงานประกันสังคม
bulletสถาบันความปลอดภัยในการทำงาน
bulletศูนย์บริการข้อมูลและฝึกอบรมแรงงาน
bulletสมาคมส่งเสริมความปลอดภัยและอนามัยในการทำงาน
bulletสำนักงานบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ
dot
dot
bulletบุษบาผู้น่าสงสาร
bulletขนมดังโกะ
bulletฤกษ์สึก
dot
dot
bulletอัตราค่าจ้างขั้นต่ำรายชั่วโมง
bulletอัตราค่าจ้างขั้นต่ำใหม่ ซึ่งได้ประกาศให้มีผลใช้บังคับ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2550
bulletแนวทางในการส่งเสริมให้นักเรียน นิสิต และนักศึกษาเข้าทำงานในช่วงปิดภาคเรียนหรือภาคฤดูร้อน
bulletหลัก 7 ประการในการบริหารแรงงาน
bullet สาระสำคัญพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518
bulletหญิงไทยกับกฎหมายแรงงานใหม่
bullet10 เคล็ดลับ เพื่อผูกใจพนักงานไว้กับองค์กร
bulletร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.........
bulletร่างพ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ ฉบับคณะกรรมการกฤษฎีกา
bulletร่างพระราชบัญญัติค่าจ้างและรายได้
dot
dot
bulletโครงการรณรงค์เพื่อแรงงานไทย
bulletไทยเซฟตี้ดอทเน็ต
bulletสภาทนายความ
bulletทนายป๊อดดอทคอม
bulletสำนักกฎหมายทัศน์พงษ์ สกุลคู
bulletไทยจัสติสดอทคอม
bulletอาจารย์กฤษฎ์ อุทัยรัตน์
bulletThaiJobCenter.com
dot
dot
bulletตัวอย่างวารสารกฎหมายแรงงานเดือนเมษายน 2550
bulletตัวอย่างวารสารกฎหมายแรงงานเดือนพฤษภาคม 2550
dot
dot
bulletพุทธธรรมที่ควรนำมาใช้ในการบริหารจัดการ ตอนที่ 3 หลักการพัฒนาตนเองให้เป็นพหูสูต
bulletพุทธธรรมที่ควรนำมาใช้ในการบริหารจัดการ ตอนที่ 2 เทคนิคการปกครองคน 3 รูปแบบ
bulletพุทธธรรมที่ควรนำมาใช้ในการบริหารจัดการ ตอนที่ 1
bulletเคล็ดลับ 12 ประการในการสร้างมนุษยสัมพันธ์ที่ดี ( 12 Tips for Building Good Human Relations)
bulletผู้นำที่ดีควรมีคุณสมบัติอย่างไร
bulletฝ่ายบุคคลมือใหม่กับยายจำปีสุดแสบ ตอนที่...2
bulletฝ่ายบุคคลมือใหม่กับยายจำปีสุดแสบ
bulletเรื่องของ ค คน โดยจามจุรีสีชมพู
bulletสิทธิและหน้าที่ของนายจ้างและลูกจ้าง


ประชาสัมพันธ์ Add Url ฟรี!


ร่างพระราชบัญญัติค่าจ้างและรายได้

ร่าง

พระราชบัญญัติ

ค่าจ้างและรายได้

.. ….

 

………………………………………

……………………………………….

………………………………………………….……………………………………………………..

 

โดยที่เป็นการสมควรมีกฎหมายว่าด้วยค่าจ้างและรายได้

พระราชบัญญัตินี้มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล  ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๕ มาตรา ๔๘ และมาตรา ๕๐ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยบัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย

จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของรัฐสภาดังต่อไปนี้

มาตรา      พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า พระราชบัญญัติค่าจ้างและรายได้ พ.. ….”

มาตรา     พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา  เป็นต้นไป

มาตรา    ให้ยกเลิกความในหมวด ๖ คณะกรรมการค่าจ้าง ตั้งแต่มาตรา ๗๘ ถึงมาตรา ๙๑ แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.. ๒๕๔๑

บรรดากฎหมาย กฎ และข้อบังคับอื่นในส่วนที่มีบัญญัติไว้แล้วในพระราชบัญญัตินี้ หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับบทแห่งพระราชบัญญัตินี้ ให้ใช้พระราชบัญญัตินี้แทน

มาตรา     พระราชบัญญัตินี้มิให้ใช้บังคับแก่ราชการส่วนกลาง   ราชการส่วนภูมิภาค   ราชการส่วนท้องถิ่น และหน่วยงานอื่นของรัฐ ทั้งนี้ไม่รวมถึงรัฐวิสาหกิจ

นอกจากกรณีตามวรรคหนึ่งจะออกกฎกระทรวงมิให้ใช้บังคับพระราชบัญญัตินี้ทั้งหมดหรือ    แต่บางส่วนแก่นายจ้างประเภทหนึ่งประเภทใดก็ได้

มาตรา     ในพระราชบัญญัตินี้

นายจ้าง หมายความว่า  ผู้ซึ่งตกลงรับลูกจ้างเข้าทำงานโดยจ่ายค่าจ้างให้  และหมายความรวมถึงผู้ซึ่งได้รับมอบหมายให้ทำงานแทนนายจ้าง ในกรณีที่นายจ้างเป็นนิติบุคคล  หมายความรวมถึงผู้มีอำนาจกระทำการแทนนิติบุคคลและผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากผู้มีอำนาจกระทำการแทนนิติบุคคลให้กระทำการแทนด้วย

ลูกจ้าง หมายความว่า  ผู้ซึ่งตกลงทำงานให้นายจ้างโดยรับค่าจ้างไม่ว่าจะเรียกชื่ออย่างไร

ค่าจ้าง หมายความว่า  เงินทุกประเภทที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างเป็นค่าตอบแทนการทำงานในวันและเวลาทำงานปกติ  ไม่ว่าจะคำนวณตามระยะเวลา  หรือคำนวณตามผลงานที่ลูกจ้างทำได้  และให้หมายความรวมถึงเงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างในวันหยุดและวันลา  ซึ่งลูกจ้างไม่ได้ทำงานด้วย ทั้งนี้ไม่ว่าจะกำหนด   คำนวณ  หรือจ่ายในลักษณะใด  หรือโดยวิธีการใด  และไม่ว่าจะเรียกชื่ออย่างไร

รายได้ หมายความว่า  งิน  ทรัพย์สิน  ค่าตอบแทน  หรือประโยชน์ใดที่บุคคลใดได้รับ  หรือพึงได้รับจากนายจ้างหรือบุคคลที่มารับบริการจากกิจการของนายจ้าง

การประเมิน หมายความว่า  ารพิจารณาและวัดค่าทักษะฝีมือ  ความรู้  ความสามารถ  ศักยภาพ  และประสบการณ์หรือความสำเร็จในการประกอบอาชีพในระดับต่างๆ  

 อัตราค่าจ้างขั้นต่ำ หมายความว่า  อัตราค่าจ้างที่คณะกรรมการกำหนด

อัตราค่าจ้างขั้นต่ำพื้นฐาน หมายความว่า  อัตราค่าจ้างที่คณะกรรมการกำหนดเพื่อใช้เป็น   พื้นฐานในการกำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ

อัตราค่าจ้างตามการประเมิน หมายความว่า อัตราค่าจ้างที่คณะกรรมการกำหนดขึ้นในแต่ละสาขาอาชีพตามการประเมิน

อัตราค่าจ้าง  หมายความว่า  อัตราค่าจ้างขั้นต่ำ  อัตราค่าจ้างขั้นต่ำพื้นฐาน  อัตราค่าจ้างตามการประเมิน  และหมายรวมถึงอัตราค่าจ้างทุกประเภทที่คณะกรรมการกำหนดขึ้นตามพระราชบัญญัตินี้

คณะกรรมการ  หมายความว่า  คณะกรรมการค่าจ้างและรายได้

พนักงานเจ้าหน้าที่ หมายความว่า ผู้ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งให้ปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้ 

รัฐมนตรี หมายความว่า  รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้

มาตรา    ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้  และให้มีอำนาจแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่กับออกกฎกระทรวง  ระเบียบ  และประกาศเพื่อปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้

กฎกระทรวง  ระเบียบ  และประกาศนั้นเมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ให้ใช้บังคับได้

 

 

หมวด  

คณะกรรมการค่าจ้างและรายได้

 

มาตรา   ให้มีคณะกรรมการค่าจ้างและรายได้ขึ้น  ประกอบด้วยปลัดกระทรวงแรงงานเป็นประธานกรรมการ  และกรรมการอื่นซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งจากฝ่ายรัฐบาลสี่คน ฝ่ายนายจ้างห้าคน  ฝ่ายลูกจ้างห้าคน  และ       ผู้ทรงคุณวุฒิอีกห้าคน  และให้เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการค่าจ้างและรายได้เป็นเลขานุการ

                        ในจำนวนกรรมการผู้แทนฝ่ายนายจ้างและกรรมการผู้แทนฝ่ายลูกจ้างตามวรรคหนึ่งต้องมาจาก         รัฐวิสาหกิจไม่เกินฝ่ายละสองคน                 

ให้กระทรวงแรงงานเป็นผู้เสนอกรรมการผู้แทนฝ่ายรัฐบาลและออกระเบียบกำหนดหลักเกณฑ์วิธีการในการให้ได้มาซึ่งกรรมการผู้แทนฝ่ายนายจ้างและกรรมการผู้แทนฝ่ายลูกจ้าง

ให้ผู้แทนฝ่ายรัฐบาล  ผู้แทนฝ่ายนายจ้าง และผู้แทนฝ่ายลูกจ้างที่ได้รับการเลือกตั้งร่วมกันคัดเลือกกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ และให้กระทรวงแรงงานเสนอรายชื่อคณะกรรมการให้คณะรัฐมนตรีแต่งตั้ง

ผู้ทรงคุณวุฒิตามวรรคสี่ให้คัดเลือกจากผู้ที่มีความรู้ความสามารถด้านแรงงาน ด้านการจัดการ ด้านเศรษฐกิจ หรือด้านกฎหมาย การคัดเลือกให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการตามระเบียบของกระทรวงแรงงาน

มาตรา   คณะกรรมการมีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้

(๑)   สนอความเห็นและให้คำปรึกษาแนะนำต่อคณะรัฐมนตรีเกี่ยวกับนโยบายและการพัฒนาค่าจ้างและ    รายได้

(๒)   กำหนดหลักเกณฑ์การปรับค่าจ้างประจำปี

(๓)   กำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำพื้นฐาน 

(๔) กำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำที่ลูกจ้างควรได้รับตามความเหมาะสม

(๕)  กำหนดอัตราค่าจ้างตามการประเมิน

(๖)   กำหนดค่าจ้างของลูกจ้างรัฐวิสาหกิจ

(๗)  ให้คำแนะนำด้านวิชาการ  และแนวทางการประสานประโยชน์แก่หน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐ เอกชน และประชาชนทั่วไป

(๘)   ปฏิบัติการอื่นใดตามที่พระราชบัญญัตินี้หรือกฎหมายอื่นบัญญัติให้เป็นอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการค่าจ้างและรายได้หรือตามที่คณะรัฐมนตรีและรัฐมนตรีมอบหมาย

มาตรา ๙  ให้กรรมการค่าจ้างและรายได้ซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งมีวาระดำรงตำแหน่งคราวละสองปี  กรรมการค่าจ้างและรายได้ซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งพ้นจากตำแหน่งอาจได้รับแต่งตั้งอีกได้แต่เกินสองวาระติดต่อกันไม่ได้

ในกรณีที่กรรมการค่าจ้างและรายได้ซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งพ้นจากตำแหน่งก่อนวาระให้คณะรัฐมนตรีแต่งตั้งกรรมการในประเภทเดียวกันเป็นกรรมการแทน  และให้ผู้ได้รับแต่งตั้งอยู่ในตำแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของกรรมการที่ตนแทน  เว้นแต่วาระของกรรมการเหลืออยู่ไม่ถึงหนึ่งร้อยแปดสิบวันจะไม่แต่งตั้งกรรมการแทนก็ได้

ในกรณีที่กรรมการค่าจ้างและรายได้ซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งพ้นจากตำแหน่งตามวาระ แต่ยังมิได้มีการแต่งตั้งกรรมการใหม่  ให้กรรมการนั้นปฏิบัติหน้าที่ไปพลางก่อนจนกว่าจะได้แต่งตั้งกรรมการใหม่เข้ารับหน้าที่  ซึ่งต้องแต่งตั้งให้เสร็จสิ้นภายในเก้าสิบวันนับตั้งแต่วันที่กรรมการเดิมพ้นจากตำแหน่ง

มาตรา  ๑๐  อกจากการพ้นจากตำแหน่งตามวาระตามมาตรา ๙ กรรมการค่าจ้างและรายได้ซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งพ้นจากตำแหน่งเมื่อ

(๑)   ตาย

(๒)    ลาออก

(๓)   คณะรัฐมนตรีให้ออก

(๔)  เป็นบุคคลล้มละลาย

(๕)  เป็นคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ

(๖)   ได้รับโทษจำคุกตามคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก  เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือตามผิดลหุโทษ

มาตรา  ๑๑  การประชุมคณะกรรมการต้องมีกรรมการเข้าประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมด  โดยมีกรรมการฝ่ายนายจ้างและฝ่ายลูกจ้างอย่างน้อยฝ่ายละหนึ่งคน  จึงจะเป็นองค์ประชุม

ในการประชุมเพื่อพิจารณากำหนดอัตราค่าจ้าง  จะต้องมีกรรมการเข้าประชุมไม่น้อยกว่าสองในสามของจำนวนกรรมการฝ่ายรัฐบาล กรรมการฝ่ายนายจ้าง และกรรมการฝ่ายลูกจ้าง  โดยมีกรรมการฝ่ายนายจ้างและฝ่ายลูกจ้างอย่างน้อยฝ่ายละสองคน  จึงจะเป็นองค์ประชุม  และต้องได้มติอย่างน้อยสองในสามของกรรมการ ดังกล่าวที่เข้าประชุม

ในการประชุมเพื่อพิจารณากำหนดอัตราค่าจ้างคราวใด  ถ้าไม่ได้องค์ประชุมตามที่กำหนดไว้ในวรรคสองให้จัดให้มีการประชุมอีกครั้งหนึ่งภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่นัดประชุมครั้งแรก  การประชุมครั้งหลังนี้แม้จะไม่มีกรรมการซึ่งมาจากฝ่ายนายจ้างหรือฝ่ายลูกจ้างเข้าร่วมประชุม  ถ้ามีกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่าสองในสามของจำนวนกรรมการทั้งหมดให้ถือเป็นองค์ประชุมและต้องได้มติอย่างน้อยสองในสามของกรรมการที่เข้าประชุม

มาตรา  ๑๒   ในการประชุมคราวใด  ถ้าประธานกรรมการไม่อยู่ในที่ประชุมหรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ให้กรรมการที่มาประชุมเลือกกรรมการคนหนึ่งเป็นประธานในที่ประชุม

การวินิจฉัยชี้ขาดของที่ประชุมให้ถือเสียงข้างมาก  กรรมการคนหนึ่งให้มีเสียงหนึ่งในการลงคะแนนถ้าคะแนนเสียงเท่ากันให้ประธานในที่ประชุมออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด

มาตรา  ๑๓  ให้คณะกรรมการมีอำนาจกำหนดข้อบังคับในการประชุม  และระเบียบในการพิจารณาในเรื่องที่เห็นว่าเหมาะสมและจำเป็น

มาตรา  ๑๔  ให้คณะกรรมการมีอำนาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการดังต่อไปนี้เพื่อพิจารณาหรือปฏิบัติหน้าที่อย่างหนึ่งอย่างใดแล้วรายงานให้คณะกรรมการทราบ

(๑)    คณะอนุกรรมการอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ

(๒)    คณะอนุกรรมการอัตราค่าจ้างขั้นต่ำจังหวัด

(๓)    คณะอนุกรรมการอัตราค่าจ้างตามการประเมิน

(๔)   คณะอนุกรรมการอื่นที่คณะกรรมการเห็นสมควรกำหนด

การประชุมคณะอนุกรรมการให้นำ มาตรา ๑๐ มาตรา ๑๑ และมาตรา ๑๒ มาใช้บังคับโดยอนุโลม

มาตรา ๑๕  ในการปฏิบัติหน้าที่ให้คณะกรรมการหรือคณะอนุกรรมการหรือผู้ซึ่งคณะกรรมการหรือคณะอนุกรรมการมอบหมายมีอำนาจดังต่อไปนี้

(๑)   มีหนังสือเรียกตัวบุคคลใดมาให้ถ้อยคำหรือให้ส่งเอกสารหรือวัตถุใดๆ มาเพื่อประกอบ การพิจารณาได้ตามความจำเป็น

(๒)   ห้หน่วยงานหรือบุคคลใดให้ความร่วมมือในการสำรวจกิจการใดๆ ที่อาจมีผลกระทบกระเทือนต่อเศรษฐกิจได้

(๓)    เข้าไปในสถานประกอบกิจการหรือสำนักงานของนายจ้างในเวลาทำการเพื่อศึกษา  สำรวจ  ตรวจสอบ  หรือสอบถามข้อเท็จจริงเพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลที่จะใช้ในการพิจารณาตามมาตรา ๘  ในการนี้ให้นายจ้างหรือบุคคลซึ่งเกี่ยวข้องอำนวยความสะดวก  ส่งหรือแสดงเอกสารหรือให้ข้อเท็จจริง  และไม่ขัดขวางการปฏิบัติการตามหน้าที่ของบุคคลดังกล่าว

มาตรา  ๑๖    ในการปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา ๑๕  ให้กรรมการค่าจ้างและรายได้  อนุกรรมการหรือผู้ซึ่งคณะกรรมการหรือคณะอนุกรรมการมอบหมาย  แสดงบัตรประจำตัวหรือหนังสือมอบหมายแล้วแต่กรณีต่อบุคคลซึ่งเกี่ยวข้อง

บัตรประจำตัวกรรมการค่าจ้างและรายได้และอนุกรรมการตามวรรคหนึ่งให้เป็นไปตามแบบที่รัฐมนตรีกำหนด

 

 

หมวด ๒

การพิจารณากำหนดอัตราค่าจ้าง

 

 

                        มาตรา  ๑๗  การพิจารณากำหนดอัตราค่าจ้าง  คณะกรรมการจะริเริ่มเองหรือเมื่อกรรมการฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งพิจารณาเห็นสมควรปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ หรือเมื่อได้รับคำร้องจากฝ่ายนายจ้างหรือฝ่ายลูกจ้างก็ได้

ในการพิจารณากำหนดอัตราค่าจ้าง ให้คณะกรรมการศึกษาและพิจารณาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับอัตราค่าจ้างที่ลูกจ้างได้รับอยู่ประกอบกับข้อเท็จจริงอื่น เช่น ดัชนีค่าครองชีพ อัตราเงินเฟ้อ  มาตรฐานการครองชีพ  ต้นทุนการผลิต  ราคาของสินค้า  ความสามารถของธุรกิจ  ผลิตภาพแรงงาน  ผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ  สภาพทางเศรษฐกิจและสังคมของแต่ละท้องถิ่น

มาตรา ๑๘ การพิจารณากำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำต้องไม่ต่ำกว่าอัตราค่าจ้างขั้นต่ำพื้นฐานที่ คณะกรรมการกำหนด

ถ้าไม่มีการกำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำในท้องที่ใดให้ถือว่าอัตราค่าจ้างขั้นต่ำพื้นฐานเป็นอัตราค่าจ้างขั้นต่ำของท้องที่นั้น

มาตรา  ๑๙   เมื่อได้ศึกษาข้อมูลและข้อเท็จจริงต่างๆ แล้ว  ให้คณะกรรมการประกาศกำหนดอัตราค่าจ้างพร้อมทั้งรายละเอียดต่างๆ  โดยจะให้มีผลใช้บังคับแก่กิจการ หรืองาน หรือสาขาอาชีพประเภทใด  เพียงใดในท้องที่ใดก็ได้ตามที่เห็นสมควร

คณะกรรมการอาจกำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำรายชั่วโมงสำหรับลูกจ้างที่ทำงานไม่เต็มเวลาก็ได้โดยจะให้มีผลใช้บังคับแก่กิจการ หรืองาน หรือสาขาอาชีพประเภทใด  เพียงใดในท้องที่ใดก็ได้ตามที่เห็นสมควร

การกำหนดอัตราค่าจ้างจะมีผลใช้บังคับต่อเมื่อรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบและได้ประกาศใน    ราชกิจจานุเบกษาแล้ว  

มาตรา  ๒๐  ประกาศกำหนดอัตราค่าจ้าง  ให้ใช้บังคับแก่นายจ้างและลูกจ้าง ไม่ว่านายจ้างและลูกจ้างนั้นจะมีสัญชาติ ศาสนา หรือเพศใด 

มาตรา  ๒๑   มื่อมีการประกาศกำหนดอัตราค่าจ้างใช้บังคับแล้ว  ห้ามมิให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างน้อยกว่าอัตราค่าจ้าง

ให้นายจ้างที่อยู่ในข่ายบังคับของประกาศกำหนดอัตราค่าจ้างปิดประกาศดังกล่าวไว้ในที่เปิดเผยเพื่อให้ลูกจ้างได้ทราบ    สถานที่ทำงานของลูกจ้างตลอดระยะเวลาที่ประกาศดังกล่าวมีผลใช้บังคับ                

มาตรา ๒๒  ในการปรับค่าจ้างประจำปี ให้นายจ้างยึดถือหลักเกณฑ์การปรับค่าจ้างประจำปีที่คณะกรรมการกำหนดตามมาตรา ๘(๒)

 

 

 

หมวด ๓

สำนักงานเลขาธิการคณะกรรมการค่าจ้างและรายได้

 

 

มาตรา ๒๓ ให้มีสำนักงานเลขาธิการคณะกรรมการค่าจ้างและรายได้ในกระทรวงแรงงานมีหน้าที่

ดังต่อไปนี้

                            (๑)  จัดทำแผนพัฒนาระบบค่าจ้างและรายได้ของประเทศ

                            (๒) จัดทำแผนงาน  โครงการเสนอต่อคณะกรรมการและคณะอนุกรรมการ

                            (๓) ประสานแผนและการดำเนินการของคณะกรรมการและคณะอนุกรรมการ

                            (๔) รวบรวม  ศึกษา  วิจัย  วิเคราะห์  และประเมินผลสถานการณ์เศรษฐกิจ  แรงงาน  ภาวะการครองชีพ  การขยายตัวของตลาดแรงงาน  ผลิตภาพแรงงาน  การลงทุน  การย้ายถิ่น  และข้อมูลที่เกี่ยวข้อง  เพื่อใช้ในการวางแผนพัฒนาระบบค่าจ้างและรายได้ของประเทศ  และเป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาของคณะกรรมการและคณะอนุกรรมการ

                            (๕) เสนอแนะผลการศึกษา และผลการพิจารณาข้อมูลทางวิชาการ และมาตรการเสริมอื่น ๆ ต่อกระทรวงแรงงาน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อประโยชน์ในการพัฒนาระบบค่าจ้างและรายได้

                            (๖)  ติดตามและประเมินผลแผนพัฒนาระบบค่าจ้างและรายได้ของประเทศ  และการปฏิบัติงานตามมติของคณะกรรมการ

                            (๗) ประสานงานการแต่งตั้งคณะกรรมการและคณะอนุกรรมการ

                            (๘) ปฏิบัติงานอื่นตามที่คณะกรรมการและคณะอนุกรรมการมอบหมาย       

 

 

 

หมวด 

พนักงานเจ้าหน้าที่

 

 

                            มาตรา ๒๔ ในการปฏิบัติการตามหน้าที่ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจดังต่อไปนี้

(๑)  เข้าไปในสถานประกอบกิจการหรือสำนักงานของนายจ้าง และสถานที่ทำงานของลูกจ้างในเวลาพระอาทิตย์ขึ้นถึงพระอาทิตย์ตกหรือในระหว่างเวลาทำการ เพื่อตรวจสภาพการจ่ายอัตราค่าจ้าง สอบถามข้อเท็จจริง ถ่ายภาพ ถ่ายสำเนาเอกสารที่เกี่ยวกับการจ่ายค่าจ้างขั้นต่ำ ในการที่จะปฏิบัติการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้

(๒)  มีหนังสือสอบถามหรือเรียกนายจ้าง ลูกจ้าง หรือบุคคลซึ่งเกี่ยวข้องมาชี้แจงข้อเท็จจริงหรือให้ส่งสิ่งของหรือเอกสารที่เกี่ยวข้องเพื่อประกอบการพิจารณา

(๓)  มีคำสั่งเป็นหนังสือให้นายจ้างหรือลูกจ้างปฏิบัติให้ถูกต้องตามพระราชบัญญัตินี้

มาตรา ๒๕ ในการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่ตาม มาตรา ๒๔ ให้บุคคลที่เกี่ยวข้องอำนวยความสะดวกตามสมควร

มาตรา ๒๖ ในการปฏิบัติหน้าที่ พนักงานเจ้าหน้าที่ต้องแสดงบัตรประจำตัว 

บัตรประจำตัวพนักงานเจ้าหน้าที่ ให้เป็นไปตามแบบที่รัฐมนตรีกำหนด

มาตรา ๒๗ ในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ให้พนักงานเจ้าหน้าที่เป็นเจ้าพนักงานตาม

ประมวลกฎหมายอาญา

 

 

หมวด 

บทกำหนดโทษ

 

 

มาตรา  ๒๘   ผู้ใดไม่อำนวยความสะดวก  ส่งหลักฐานหรือแสดงเอกสาร  หรือให้ข้อเท็จจริงแก่คณะกรรมการหรือคณะอนุกรรมการ  หรือผู้ซึ่งคณะกรรมการหรือคณะอนุกรรมการมอบหมาย  หรือไม่อำนวยความสะดวกแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน  หรือปรับไม่เกินสองพันบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา  ๒๙       นายจ้างผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๒๑   ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน  หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา  ๓๐  ผู้ใดขัดขวางการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการหรือคณะอนุกรรมการ  หรือผู้ซึ่งคณะกรรมการหรือคณะอนุกรรมการมอบหมาย  พนักงานเจ้าหน้าที่   ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือนหรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา  ๓๑  ในกรณีที่นิติบุคคลเป็นผู้กระทำความผิดและถูกลงโทษตามพระราชบัญญัตินี้ ให้ถือว่าผู้แทนของนิติบุคคล กรรมการทุกคน และผู้รับผิดชอบในการดำเนินการของนิติบุคคลนั้น ต้องระวางโทษเช่นเดียวกับนิติบุคคลนั้นด้วย เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าตนมิได้รู้เห็นเป็นใจในการกระทำความผิดนี้ หรือได้จัดการตามสมควรเพื่อป้องกันมิให้เกิดความผิดนั้นแล้ว

 

มาตรา  ๓๒   บรรดาความผิดตามพระราชบัญญัตินี้  ถ้าเจ้าพนักงานดังต่อไปนี้เห็นว่าผู้กระทำผิด ไม่ควรได้รับโทษจำคุก  หรือไม่ควรถูกฟ้องร้อง  ให้มีอำนาจเปรียบเทียบได้  ดังนี้

(๑)    ปลัดกระทรวงแรงงานหรือผู้ซึ่งปลัดกระทรวงมอบหมาย  สำหรับความผิดที่เกิดขึ้นในกรุงเทพมหานคร

(๒)    ผู้ว่าราชการจังหวัดหรือผู้ซึ่งผู้ว่าราชการจังหวัดมอบหมาย  สำหรับความผิดที่เกิดขึ้นในจังหวัดอื่น

กรณีที่มีการสอบสวน  ถ้าพนักงานสอบสวนพบว่าบุคคลใดกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้และบุคคลนั้นยินยอมให้เปรียบเทียบ  ให้พนักงานสอบสวนส่งเรื่องให้ปลัดกระทรวงแรงงานหรือผู้ว่าราชการจังหวัดแล้วแต่กรณีภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่บุคคลนั้นแสดงความยินยอมให้เปรียบเทียบ

                        เมื่อผู้กระทำผิดได้ชำระเงินค่าปรับตามจำนวนที่เปรียบเทียบภายในสามสิบวันนับแต่วันที่         ผู้กระทำความผิดทราบการเปรียบเทียบ ให้ถือว่าคดีเลิกกันตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

                        ถ้าผู้กระทำผิดไม่ยินยอมให้เปรียบเทียบ หรือเมื่อยินยอมแล้วไม่ชำระเงินค่าปรับภายในกำหนดเวลาตามวรรคสาม ให้ดำเนินคดีต่อไป

 

 

บทเฉพาะกาล

 

 

มาตรา ๓๓  ให้คณะกรรมการค่าจ้างและคณะอนุกรรมการ ซึ่งดำรงตำแหน่งอยู่ในวันที่    พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับคงอยู่ในตำแหน่งต่อไปได้และให้คณะกรรมการค่าจ้างมีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับคณะกรรมการตามพระราชบัญญัตินี้จนกว่าจะมีคณะกรรมการตามพระราชบัญญัตินี้

มาตรา ๓๔  บรรดาระเบียบหรือประกาศที่ออกตามความในหมวด ๖ คณะกรรมการค่าจ้างแห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑ และการกำหนดมาตรฐานขั้นต่ำของสภาพการจ้างที่เกี่ยวกับ      ค่าจ้างของคณะกรรมการแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ ตามพระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. ๒๕๔๓ ให้ยังคงใช้ได้ต่อไปเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับพระราชบัญญัตินี้ หรือจนกว่าจะมีกฎกระทรวง ระเบียบและประกาศที่ออกตามพระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ

 

ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ

 

 

นายกรัฐมนตรี

 

 

 

ที่มา    http://www.mol.go.th/

 







Copyright © 2010 All Rights Reserved.