ReadyPlanet.com
dot dot
dot
dot
bulletขอเลิกจ้างกรรมการลูกจ้างโดยไม่จ่าย ค่าชดเชย
bulletเลิกจ้างนอกข้อยกเว้น มาตรา 123
bulletลงชื่อสนับสนุนข้อเรียกร้อง
bulletข้อตกลงที่สิ้นผลผูกพัน
bulletห้ามทำสัญญาจ้างฯขัดข้อตกลงสภาพการจ้าง
dot
dot
bulletคำวินิจฉัยของศาลที่ไม่มีเหตุผลประกอบ
bulletการปฏิบัติตามคำพิพากษา
dot
dot
bulletสิทธิในการเรียกค่าขาดไร้อุปการะ
bullet“บุตร” หมายความว่าอย่างไร ?
bulletไม่ถือว่าได้รับความเดือดร้อน
dot
dot
bulletหนังสือเตือนไม่ใช่โทษ
bulletประมาทเลินเล่อ
bulletไม่ผิดยักยอกแต่เลิกจ้างเป็นธรรม
bulletปิดกิจการชั่วคราว
bulletความหมายของคำว่า “ผู้บังคับบัญชา”
bulletทำงานแต่ละทิ้งหน้าที่
bulletต้องเลือกใช้สิทธิ
bulletการระบุเหตุผลในหนังสือบอกเลิกจ้าง
bulletการใช้สิทธิร้องพนักงานตรวจแรงงานและคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์พร้อมกัน
bulletการสละสิทธิไม่รับเงินประกัน
dot
dot
bulletฟ้องตัวแทนหางานในประเทศไทย
bulletฟ้องละเมิด
dot
dot
bulletจัดหางานไม่ได้รับอนุญาต
dot
dot
bulletประกาศคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจที่เป็นคุณต่อลูกจ้างแต่ออกภายหลังที่ลูกจ้างเกษียณอายุไปแล้ว
dot
dot
bulletศาลฎีกา
bulletศาลอุทธรณ์
bulletศาลแพ่ง
bulletศาลแพ่งกรุงเทพใต้
bulletศาลอาญา
bulletศาลแพ่งธนบุรี
bulletศาลแรงงานกลาง
bulletศาลล้มละลายกลาง
dot

dot
dot
dot
bulletกระทรวงแรงงาน
bulletกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
bulletกรมการจัดหางาน
bulletกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
bulletสำนักงานประกันสังคม
bulletสถาบันความปลอดภัยในการทำงาน
bulletศูนย์บริการข้อมูลและฝึกอบรมแรงงาน
bulletสมาคมส่งเสริมความปลอดภัยและอนามัยในการทำงาน
bulletสำนักงานบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ
dot
dot
bulletบุษบาผู้น่าสงสาร
bulletขนมดังโกะ
bulletฤกษ์สึก
dot
dot
bulletอัตราค่าจ้างขั้นต่ำรายชั่วโมง
bulletอัตราค่าจ้างขั้นต่ำใหม่ ซึ่งได้ประกาศให้มีผลใช้บังคับ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2550
bulletแนวทางในการส่งเสริมให้นักเรียน นิสิต และนักศึกษาเข้าทำงานในช่วงปิดภาคเรียนหรือภาคฤดูร้อน
bulletหลัก 7 ประการในการบริหารแรงงาน
bullet สาระสำคัญพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518
bulletหญิงไทยกับกฎหมายแรงงานใหม่
bullet10 เคล็ดลับ เพื่อผูกใจพนักงานไว้กับองค์กร
bulletร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.........
bulletร่างพ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ ฉบับคณะกรรมการกฤษฎีกา
bulletร่างพระราชบัญญัติค่าจ้างและรายได้
dot
dot
bulletโครงการรณรงค์เพื่อแรงงานไทย
bulletไทยเซฟตี้ดอทเน็ต
bulletสภาทนายความ
bulletทนายป๊อดดอทคอม
bulletสำนักกฎหมายทัศน์พงษ์ สกุลคู
bulletไทยจัสติสดอทคอม
bulletอาจารย์กฤษฎ์ อุทัยรัตน์
bulletThaiJobCenter.com
dot
dot
bulletตัวอย่างวารสารกฎหมายแรงงานเดือนเมษายน 2550
bulletตัวอย่างวารสารกฎหมายแรงงานเดือนพฤษภาคม 2550
dot
dot
bulletพุทธธรรมที่ควรนำมาใช้ในการบริหารจัดการ ตอนที่ 3 หลักการพัฒนาตนเองให้เป็นพหูสูต
bulletพุทธธรรมที่ควรนำมาใช้ในการบริหารจัดการ ตอนที่ 2 เทคนิคการปกครองคน 3 รูปแบบ
bulletพุทธธรรมที่ควรนำมาใช้ในการบริหารจัดการ ตอนที่ 1
bulletเคล็ดลับ 12 ประการในการสร้างมนุษยสัมพันธ์ที่ดี ( 12 Tips for Building Good Human Relations)
bulletผู้นำที่ดีควรมีคุณสมบัติอย่างไร
bulletฝ่ายบุคคลมือใหม่กับยายจำปีสุดแสบ ตอนที่...2
bulletฝ่ายบุคคลมือใหม่กับยายจำปีสุดแสบ
bulletเรื่องของ ค คน โดยจามจุรีสีชมพู
bulletสิทธิและหน้าที่ของนายจ้างและลูกจ้าง


ประชาสัมพันธ์ Add Url ฟรี!


สภาพการจ้างโดยปริยาย article

 

                        โดยปกติแล้วในนิติสัมพันธ์ตามสัญญาจ้างแรงงานระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างจะเกิดขึ้นได้ นายจ้างจะต้องมีอำนาจบังคับบัญชาเหนือลูกจ้างก่อน กล่าวคือ นายจ้างจะมีอำนาจในการสั่ง และการลงโทษ ซึ่งการออกคำสั่งแก่ลูกจ้างดังกล่าว คำสั่งนั้นจะต้องประกอบด้วยโครงสร้างที่สมบูรณ์ เช่นไม่เป็นการพ้นวิสัย ไม่ขัดต่อศีลธรรมอันดีของประชาชน ไม่ขัดต่อกฎหมาย และไม่ขัดต่อหลักสุจริต และคำสั่งนั้นต้องอยู่ในขอบเขตของงานซึ่งรวมถึงข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง อีกทั้งคำสั่งนั้นต้องไม่ขัดต่อสิทธิส่วนบุคคลของลูกจ้างและประการสำคัญคือต้องมีความชอบธรรมด้วย

                        สำหรับอำนาจในการลงโทษนั้น จะต้องมีข้อเท็จจริงที่ชัดแจ้งว่าลูกจ้างได้กระทำผิดต่อสภาพการจ้างอย่างใดอย่างหนึ่ง และกรณีที่ลูกจ้างประพฤติผิดสภาพการจ้างแล้ว หากไม่มีระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานกำหนดในเรื่องการใช้มาตรการทางวินัย หรือการสอบสวนไว้อย่างไรแล้ว ให้เป็นอำนาจของนายจ้างที่จะพิจารณาดำเนินการได้ตามที่เห็นสมควร แต่ต้องเป็นไปตามบทบัญญัติของกฎหมาย

                        หากมีระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานกำหนดเรื่องการลงโทษไว้อย่างไร ถ้าการกำหนดไว้นั้นเป็นคุณยิ่งกว่าที่กฎหมายกำหนด ต้องลงโทษไปตามข้อกำหนดนั้น การลงโทษที่ผิดขั้นตอนถือว่าเป็นการลงโทษโดยไม่ชอบ ซึ่งลูกจ้างมีสิทธิฟ้องต่อศาลแรงงานเพื่อให้เพิกถอนการลงโทษที่ไม่ชอบนั้นได้

                        ความในเบื้องต้นเป็นการวางรากฐานความเข้าใจว่า การที่นายจ้างมีอำนาจบังคับบัญชาเหนือลูกจ้างเป็นหัวใจสำคัญของนิติสัมพันธ์ในฐานะนายจ้างและลูกจ้างตามสัญญาจ้างแรงงาน และเมื่อเป็นสัญญาจ้างแรงงานแล้วจะก่อให้เกิดสภาพการจ้างระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง

                        สภาพาการจ้างนี้ประกอบด้วยเนื้อหาสาระในสัญญาจ้างแรงงาน คำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายและเป็นธรรมของนายจ้าง ระเบียบปฏิบัติในการทำงาน ธรรมเนียมประเพณีในวงการธุรกิจ ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของนายจ้าง ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างอันเกิดจากการแจ้งข้อเรียกร้อง คำชี้ขาดของผู้ชี้ขาดข้อพิพาทแรงงาน หลักศีลธรรมอันดีของประชาชนและสภาพการจ้างโดยปริยาย

                        สภาพการจ้างโดยปริยายนี้จะเป็นประเด็นที่สำคัญ

                        ความหมายของสภาพการจ้างนั้นตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.. 2518 มาตรา 5 หมายความว่า เงื่อนไขการจ้าง หรือการทำงาน การกำหนดวันและเวลาทำงาน ค่าจ้าง สวัสดิการ การเลิกจ้าง หรือประโยชน์อื่นของนายจ้างหรือลูกจ้างอันเกี่ยวกับการทำงาน นิยามดังกล่าวนี้มีความหมายที่กว้างขวางมาก เสมือนกับว่าอะไรที่เกี่ยวกับการทำงานแล้วล้วนแต่เป็นสภาพการจ้างทั้งสิ้น

                        อย่างไรก็ตาม ศาลฎีกาได้วินิจฉัยว่าข้อตกลงที่ให้นายจ้างหักค่าจ้างของลูกจ้างส่งสหภาพแรงงานเป็นคำบำรุงสหภาพแรงงานและค่าฌาปนกิจสงเคราะห์เป็นข้อตกลงอย่างอื่นที่ไม่ใช่สภาพการจ้าง[คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3680//2532]

                        เมื่อสภาพการจ้างยังเป็นประเด็นปัญหาในการตีความ ดังนั้น สภาพการจ้างโดยปริยายจะมีความหมายอย่างไร เมื่อไม่มี่นิยามบัญญัติไว้ก็ต้องตั้งสมมุติฐานไว้ก่อนว่าเป็นสภาพการจ้างที่เกิดขึ้นจากการฝ่าฝืนหรือขัดแย้งกับสภาพการจ้างเดิม แต่นายจ้างได้ปฏิบัติต่อลูกจ้างมานานพอสมควรและลูกจ้างก็ไม่ได้โต้แย้งคัดค้านใดๆ จึงเกิดเป็นสภาพการจ้างที่มีผลผูกพันระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง ซึ่งลูกจ้างจะอ้างว่า นายจ้างประพฤติผิดสภาพการจ้างเดิมไมได้อีกต่อไป

                        สรุปแล้วหากจะให้อธิบายว่าอะไรคือสภาพการจ้างโดยปริยายแล้ว จะได้หลักการว่า นายจ้างได้กระทำการที่ขัดแย้งหรือแตกต่างจากสภาพการจ้างเดิม แต่ไม่ถึงขนาดที่เป็นการขัดต่อมาตรฐานขั้นต่ำตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน ซึ่งเป็นกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน และนายจ้างได้กระทำการดังกล่าวมาเป็นระยะเวลายาวนานพอสมควรแล้ว ประกอบกับลูกจ้างได้ยึดถือหรือยอมรับการกระทำดังกล่าวมาเป็นระยะเวลายาวนานพอสมควรเช่นกันในลักษณะรับทราบแล้วนิ่งเฉย หรือไม่โต้แย้งคัดค้านแต่ประการใด

                        หากเป็นเช่นนี้ถือได้ว่าสภาพการจ้างเดิมได้ระงับและเกิดสภาพการจ้างใหม่ระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างโดยปริยายแล้ว

                        เพื่อให้เห็นรูปธรรมเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวปรากฏว่าศาลฎีกาได้วินิจฉัยวางบรรทัดฐานไว้หลายคดีด้วยกัน

                        กรณีแรกได้วินิจฉัยว่า แม้ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของนายจ้างจะกำหนดจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างในวันสิ้นเดือนก็ตาม แต่การที่นายจ้างจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างก่อนวันสิ้นเดือนหนึ่งวันเป็นประจำตลอดมา ย่อมถือได้ว่า นายจ้างตกลงกับลูกจ้างให้มีการเปลี่ยนแปลงข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างในเรื่องกำหนดการจ่ายโดยปริยาย การที่ลูกจ้างได้รับการบอกกล่าวเลิกจ้างล่วงหน้า ณ วันสิ้นเดือนจึงไม่ใช่การบอกกล่าวเมื่อถึงหรือก่อนถึงกำหนดจ่ายสินจ้าง อันจะมีผลเป็นการเลิกจ้างโดยชอบด้วยกฎหมายเมื่อถึงกำหนดจ่ายสินจ้างในคราวถัดไป[คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5790-5822//2543]

 



นายเกรียงไกร เจียมบุญศรีทนายความที่ปรึกษากฎหมายในคดีแรงงาน น.บ.เกียรตินิยม , Grad.Dip in Business Law, Grad.Dip in H.R.M, M.P.A.

 

 

 




ห้องรับแขก นักกฎหมายแรงงาน

ปัญหาการทำงานล่วงเวลาของพนักงานขับรถในธุรกิจการขนส่งทางบก article
ความไม่คืบหน้าของการจัดทำกฎหมายคุ้มครองผู้ทำงานบ้าน
ปรัชญาของกฎหมายคุ้มครองแรงงาน
ปกิณกะคดีว่าด้วย การแก้ไขปัญหาลูกจ้างรับเหมาค่าแรง ยิ่งแก้ก็ยิ่งยุ่งไปกันใหญ่ ตอนที่ 2 แนวทางการแก้ไขปัญหาของภาครัฐ
ปกิณกะคดีว่าด้วย การแก้ไขปัญหาลูกจ้างรับเหมาค่าแรง ยิ่งแก้ก็ยิ่งยุ่งไปกันใหญ่ ตอนที่ 1
สิทธิหน้าที่และความคุ้มครองตามกฎหมายสำหรับลูกจ้างทดลองงาน
สถานการณ์ผู้รับงานไปทำที่บ้าน article
สภาพการจ้างโดยปริยาย article
หลักในการเขียนข้อบังคับการทำงานสำหรับนายจ้าง ตอนที่ 9 article
การจ้างแรงงานภายนอกการบินไทยเป็นการขาดธรรมมาภิบาลจริงหรือ? article
การจ้างแรงงานภายนอกการบินไทยเป็นการขาดธรรมมาภิบาลจริงหรือ? ตอนที่ 2 ความหมายของ นายจ้าง ตาม กฎหมายคุ้มครองแรงงาน article
การจ้างแรงงานภายนอกการบินไทยเป็นการขาดธรรมมาภิบาลจริงหรือ? article
ความสำคัญของกฎหมายแรงงานไทย article
หลักในการเขียนข้อบังคับการทำงานสำหรับนายจ้าง ตอนที่ 8 article
หลักในการเขียนข้อบังคับการทำงานสำหรับนายจ้าง ตอนที่ 7 article
หลักในการเขียนข้อบังคับการทำงานสำหรับนายจ้าง ตอนที่ 6 article
หลักในการเขียนข้อบังคับการทำงานสำหรับนายจ้าง ตอนที่ ...5 article
หลักในการเขียนข้อบังคับการทำงานสำหรับนายจ้าง ตอนที่ ....4 article
หลักในการเขียนข้อบังคับการทำงานสำหรับนายจ้าง ตอนที่ 3 article
หลักในการเขียนข้อบังคับการทำงานสำหรับนายจ้าง ตอนที่ 2 article
หลักในการเขียนข้อบังคับการทำงานสำหรับนายจ้าง ตอนที่1... article



Copyright © 2010 All Rights Reserved.