ReadyPlanet.com
dot dot
dot
dot
bulletขอเลิกจ้างกรรมการลูกจ้างโดยไม่จ่าย ค่าชดเชย
bulletเลิกจ้างนอกข้อยกเว้น มาตรา 123
bulletลงชื่อสนับสนุนข้อเรียกร้อง
bulletข้อตกลงที่สิ้นผลผูกพัน
bulletห้ามทำสัญญาจ้างฯขัดข้อตกลงสภาพการจ้าง
dot
dot
bulletคำวินิจฉัยของศาลที่ไม่มีเหตุผลประกอบ
bulletการปฏิบัติตามคำพิพากษา
dot
dot
bulletสิทธิในการเรียกค่าขาดไร้อุปการะ
bullet“บุตร” หมายความว่าอย่างไร ?
bulletไม่ถือว่าได้รับความเดือดร้อน
dot
dot
bulletหนังสือเตือนไม่ใช่โทษ
bulletประมาทเลินเล่อ
bulletไม่ผิดยักยอกแต่เลิกจ้างเป็นธรรม
bulletปิดกิจการชั่วคราว
bulletความหมายของคำว่า “ผู้บังคับบัญชา”
bulletทำงานแต่ละทิ้งหน้าที่
bulletต้องเลือกใช้สิทธิ
bulletการระบุเหตุผลในหนังสือบอกเลิกจ้าง
bulletการใช้สิทธิร้องพนักงานตรวจแรงงานและคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์พร้อมกัน
bulletการสละสิทธิไม่รับเงินประกัน
dot
dot
bulletฟ้องตัวแทนหางานในประเทศไทย
bulletฟ้องละเมิด
dot
dot
bulletจัดหางานไม่ได้รับอนุญาต
dot
dot
bulletประกาศคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจที่เป็นคุณต่อลูกจ้างแต่ออกภายหลังที่ลูกจ้างเกษียณอายุไปแล้ว
dot
dot
bulletศาลฎีกา
bulletศาลอุทธรณ์
bulletศาลแพ่ง
bulletศาลแพ่งกรุงเทพใต้
bulletศาลอาญา
bulletศาลแพ่งธนบุรี
bulletศาลแรงงานกลาง
bulletศาลล้มละลายกลาง
dot

dot
dot
dot
bulletกระทรวงแรงงาน
bulletกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
bulletกรมการจัดหางาน
bulletกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
bulletสำนักงานประกันสังคม
bulletสถาบันความปลอดภัยในการทำงาน
bulletศูนย์บริการข้อมูลและฝึกอบรมแรงงาน
bulletสมาคมส่งเสริมความปลอดภัยและอนามัยในการทำงาน
bulletสำนักงานบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ
dot
dot
bulletบุษบาผู้น่าสงสาร
bulletขนมดังโกะ
bulletฤกษ์สึก
dot
dot
bulletอัตราค่าจ้างขั้นต่ำรายชั่วโมง
bulletอัตราค่าจ้างขั้นต่ำใหม่ ซึ่งได้ประกาศให้มีผลใช้บังคับ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2550
bulletแนวทางในการส่งเสริมให้นักเรียน นิสิต และนักศึกษาเข้าทำงานในช่วงปิดภาคเรียนหรือภาคฤดูร้อน
bulletหลัก 7 ประการในการบริหารแรงงาน
bullet สาระสำคัญพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518
bulletหญิงไทยกับกฎหมายแรงงานใหม่
bullet10 เคล็ดลับ เพื่อผูกใจพนักงานไว้กับองค์กร
bulletร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.........
bulletร่างพ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ ฉบับคณะกรรมการกฤษฎีกา
bulletร่างพระราชบัญญัติค่าจ้างและรายได้
dot
dot
bulletโครงการรณรงค์เพื่อแรงงานไทย
bulletไทยเซฟตี้ดอทเน็ต
bulletสภาทนายความ
bulletทนายป๊อดดอทคอม
bulletสำนักกฎหมายทัศน์พงษ์ สกุลคู
bulletไทยจัสติสดอทคอม
bulletอาจารย์กฤษฎ์ อุทัยรัตน์
bulletThaiJobCenter.com
dot
dot
bulletตัวอย่างวารสารกฎหมายแรงงานเดือนเมษายน 2550
bulletตัวอย่างวารสารกฎหมายแรงงานเดือนพฤษภาคม 2550
dot
dot
bulletพุทธธรรมที่ควรนำมาใช้ในการบริหารจัดการ ตอนที่ 3 หลักการพัฒนาตนเองให้เป็นพหูสูต
bulletพุทธธรรมที่ควรนำมาใช้ในการบริหารจัดการ ตอนที่ 2 เทคนิคการปกครองคน 3 รูปแบบ
bulletพุทธธรรมที่ควรนำมาใช้ในการบริหารจัดการ ตอนที่ 1
bulletเคล็ดลับ 12 ประการในการสร้างมนุษยสัมพันธ์ที่ดี ( 12 Tips for Building Good Human Relations)
bulletผู้นำที่ดีควรมีคุณสมบัติอย่างไร
bulletฝ่ายบุคคลมือใหม่กับยายจำปีสุดแสบ ตอนที่...2
bulletฝ่ายบุคคลมือใหม่กับยายจำปีสุดแสบ
bulletเรื่องของ ค คน โดยจามจุรีสีชมพู
bulletสิทธิและหน้าที่ของนายจ้างและลูกจ้าง


ประชาสัมพันธ์ Add Url ฟรี!


ละเมิด กับ ผิดสัญญา เหมือนและต่างกันอย่างไร ? article

 

เมื่อเอ่ยถึงละเมิดก็พอจะเข้าใจความหมายอยู่ว่า เสียตังค์แน่แล้ว เพราะอย่างน้อยก็ต้องทำอะไรให้คนอื่นเสียหายสักอย่างสองอย่างแหละ เขาถึงเรียกว่า ละเมิด ส่วนผิดสัญญาก็คล้ายๆกันอยู่ทำนองว่าจะเสียตังค์เหมือนกัน ก็คงจะต้องทำอะไรให้เขาเสียหายเหมือนกับละเมิดนั้นแหละ กล่าวโดยสรุป ทั้งละเมิดและผิดสัญญาก็เสียตังค์ด้วยกันทั้งคู่ไม่มีดีสักอย่าง (รู้แค่นี้แหละ)  ใช่แล้วครับ ที่ท่านรู้ก็ไม่ผิดดอก แต่ถ้าท่านแยกออกว่ามันเหมือนและต่างกันอย่างไรก็น่าจะเป็นประโยชน์ต่อการทำงานของท่าน (ถ้าท่านเป็นผู้จัดการฝ่ายบุคคล) ถ้าเช่นนั้นเรามาพิสูจน์ทราบกัน

 

ละเมิด กับ ผิดสัญญา ต่างกันอย่างไร ? ก่อนที่จะรู้ว่าต่างกันอย่างไร ? ต้องรู้เสียก่อนว่า ละเมิด คือ อะไร และสัญญา คือ อะไร ?

 

ละเมิด คือ อะไร ? (ลอกกฎหมายมาให้อ่านเลย) ละเมิด คือ จงใจหรือประมาทเลินเล่อทำต่อบุคคลอื่นโดยผิดกฎหมายเป็นเหตุให้เขาเสียหายแก่ชีวิต ร่างกาย อนามัย เสรีภาพ ทรัพย์สินหรือสิทธิอย่างหนึ่งอย่างใด ดังนั้น สาระสำคัญของละเมิดจึงอยู่ที่ต้องมีกฎหมายมารองรับว่า การกระทำนั้นเป็นความผิด

 

สัญญา คือ อะไร ? เอาแบบเข้าใจง่ายๆนะ สัญญา ก็คือ ผลของการแสดงเจตนาหลายฝ่ายที่มีคำเสนอและคำสนองตรงกัน (ไม่เข้าใจครับ) ก็เดาไว้อย่างนั้นเหมือนกันแหละว่า อย่างไรเสียก็คงไม่เข้าใจ (อธิบายใหม่สิ) เอ้า....เอาใหม่ สัญญา ก็คือ ข้อตกลงระหว่างบุคคลตั้งแต่สองฝ่ายขึ้นไป อธิบายอย่างนี้ค่อยเป็นภาษาชาวบ้านหน่อย (เข้าใจแล้วใช่ไหม) เมื่อรู้แล้วว่า สัญญา คืออะไร คราวนี้มาดูกันว่า ผิดสัญญา คือ อะไร ? ผิดสัญญาก็คือผิดสัญญาไงละ (ดูมันตอบ) เอาเป็นว่าเข้าใจก็แล้วกันนะว่าผิดสัญญาเป็นอย่างไร ? ในเมื่อสัญญา คือ ข้อตกลงของบุคคล การผิดสัญญาจึงเป็นการผิดข้อตกลงของบุคคลโดยไม่จำเป็นต้องผิดกฎหมาย (เก่งมาก)

 

เริ่มเห็นความต่างกันของละเมิด กับ การผิดสัญญาแล้วหรือยัง นั้นก็คือ ละเมิดต้องเป็นการกระทำที่ผิดต่อกฎหมาย ส่วนผิดสัญญาต้องเป็นการกระทำที่ผิดข้อตกลงโดยไม่จำเป็นต้องผิดกฎหมายไงละ  แล้วผิดข้อตกลงที่ผิดกฎหมายด้วยมีไหม ? (มีสิ) ผิดข้อตกลงที่ผิดกฎหมายด้วย ก็คือ ผิดสัญญาและละเมิดพร้อมกันไงละ (เอากับมันสิ) ตรงนี้แหละที่ทำให้นึกอยากเขียนบทความเรื่องนี้ เพื่อแยกแยะให้เข้าใจถึงความต่างและความเหมือนกัน การกระทำบางอย่างอาจเป็นเพียงการผิดสัญญาอย่างเดียว เช่น ตกลงกันว่าจะทำงานให้เป็นเวลา 2 ปี แต่พอทำได้ไม่ถึงปีที่อื่นให้เงินเดือนดีกว่าเลยลาออกเฉยเลย อย่างนี้เขาเรียกว่า ผิดสัญญา (แต่ไม่ผิดกฎหมาย) การกระทำอีกบางอย่างเป็นทั้งผิดสัญญาและผิดกฎหมาย เช่น จ้างมาทำหน้าที่พนักงานเก็บเงิน เงินก็ขยันเก็บจากลูกค้าทุกวัน แต่ไม่ขยันนำส่งบริษัท ชอบเหลือเอาไว้ใส่กระเป๋าตนเอง (เก็บไว้ผ่อนรถ) อย่างนี้เรียกว่าผิดข้อตกลงและผิดกฎหมายด้วย จึงเป็นทั้งการผิดสัญญาและละเมิดไปพร้อมๆกัน

 

ละเมิด กับ ผิดสัญญา เหมือนกันอย่างไร ?

 

สิ่งที่เหมือนกันของทั้งคู่ก็คือ ผู้กระทำต้องรับผิดในความเสียหายต่ออีกฝ่ายหนึ่งเหมือนกัน อย่างไรเสียก็ต้องรับผิดในค่าเสียหายเหมือนกันไม่ว่าจะเป็นละเมิดหรือผิดสัญญาก็ตาม แล้วจะรู้ความเหมือนความต่างกันไปทำไม่เสียเวลาเปล่าๆ (ใช่แล้ว) ไม่เสียเวลาเปล่าๆหรอกครับ ต้องมีประโยชน์บ้างละครับ ไม่เช่นนั้นจะดั้นด้นเขียนมาทำไมให้ลำบาก (ทำเป็นเถียง) ไหนว่ามาสิรู้ความเหมือนและความต่างของละเมิด กับ ผิดสัญญาแล้วจะได้ประโยชน์อย่างไร ? (นั้นแน่) อยากรู้แล้วละสิ ยังไม่ตอบครับ (โปรดติดตามตอนต่อไป) ไม่ใช่เล่นตัวนะตัวเอง

 

                           ..................................สมบัติ ลีกัล 7 มี.ค 50




กฎหมายอื่นใน กฎหมายแรงงาน

เกษียณอายุ กับ การบอกกล่าวล่วงหน้า article
ลิขสิทธิ์ กับ ลูกจ้างผู้รับเหมาแรงงาน article
หลักการแสดงเจตนา กับ การเจรจาข้อเรียกร้อง article
การปรับค่าจ้างย้อนหลัง กับ ดอกเบี้ย article
ลูกจ้างทำหนังสือรับสภาพหนี้ให้นายจ้าง โดยมีผู้ค้ำประกันคนใหม่ยอมรับผิด ผู้ค้ำประกันคนเก่าพ้นความรับผิดหรือไม่ ? article
No Work No Pay
จ่ายค่าชดเชยอย่างมีเงื่อนไข กับ สิทธิการได้รับดอกเบี้ย
ทำสัญญาจ้างงานแล้ว ก่อนถึงวันเริ่มงาน เปลี่ยนใจยกเลิกสัญญา ผลทางกฎหมายเป็นอย่างไร ?
บอกเลิกจ้างขณะข้อตกลงมีผลบังคับ แต่ให้มีผลในวันที่ข้อตกลงสิ้นอายุแล้ว ผลทางกฎหมาย ?
ลงชื่อทำงานล่วงเวลาแล้วขอยกเลิก ผลทางกฎหมายเป็นอย่างไร ?
เป็นลูกจ้างก่อนนายจ้างเป็นนิติบุคคลอายุงานนับอย่างไร ?
อายุความ กรณีละเมิด กับ ผิดสัญญา ต่างกันอย่างไร ? article
ดอกเบี้ย กรณีละเมิด กับ ผิดสัญญา ต่างกันอย่างไร ? article
การอุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาของศาลแรงงาน กรณี เงินเพิ่ม กับ ความรับผิดในการชำระเงินเพิ่ม article
เงินทดแทนกรณีว่างงาน กับ การเกษียณอายุ article
นายจ้างบอกเลิกจ้างแล้วยกเลิกได้หรือไม่ ? article
นายจ้างบอกเลิกจ้างแล้วขอเลื่อนเวลาให้เร็วขึ้นได้หรือไม่ ? article
ลูกจ้างแจ้งลาออกล่วงหน้าแล้วขอเลื่อนเวลาให้เร็วขึ้นได้หรือไม่ ? article
คณะกรรมการสหภาพที่ถูกนายทะเบียนเพิกถอน ตอน 2 ..ไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้ article
คณะกรรมการสหภาพที่ถูกนายทะเบียนเพิกถอน ตอนที่ 1 article
การประนีประนอมยอมความค่าเสียหายตามคำสั่งคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ article
ปัญหาดอกเบี้ยและเงินเพิ่ม กรณีลูกจ้างปฏิเสธเงินชดเชย article
ความเห็นในเชิงกฎหมายกับการทำหน้าที่ที่ปรึกษากฎหมายแรงงานสัมพันธ์ article
อายุความ กับ วันหยุดพักผ่อนประจำปี article
ผู้ค้ำประกัน 2 คน ค้ำประกันการทำงานลูกจ้างคนเดียวกัน รับผิดอย่างไร article
การจ่ายค่าจ้าง กับ การไม่มอบงานให้ทำ article
ระยะเวลา อายุความ การเริ่มเจรจาข้อเรียกร้องใน 3 วัน article
การจ่ายเงินสกุลอื่นตามสัญญาจ้างเป็นเงินไทยทำอย่างไร?จึงถูกกฎหมาย article
การทำหน้าที่ฝ่ายบุคคลกับความรับผิดในทางแพ่ง article
การฟ้องเพิกถอนคำสั่งคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ กับ อายุความ article



Copyright © 2010 All Rights Reserved.