ReadyPlanet.com
dot dot
dot
dot
bulletขอเลิกจ้างกรรมการลูกจ้างโดยไม่จ่าย ค่าชดเชย
bulletเลิกจ้างนอกข้อยกเว้น มาตรา 123
bulletลงชื่อสนับสนุนข้อเรียกร้อง
bulletข้อตกลงที่สิ้นผลผูกพัน
bulletห้ามทำสัญญาจ้างฯขัดข้อตกลงสภาพการจ้าง
dot
dot
bulletคำวินิจฉัยของศาลที่ไม่มีเหตุผลประกอบ
bulletการปฏิบัติตามคำพิพากษา
dot
dot
bulletสิทธิในการเรียกค่าขาดไร้อุปการะ
bullet“บุตร” หมายความว่าอย่างไร ?
bulletไม่ถือว่าได้รับความเดือดร้อน
dot
dot
bulletหนังสือเตือนไม่ใช่โทษ
bulletประมาทเลินเล่อ
bulletไม่ผิดยักยอกแต่เลิกจ้างเป็นธรรม
bulletปิดกิจการชั่วคราว
bulletความหมายของคำว่า “ผู้บังคับบัญชา”
bulletทำงานแต่ละทิ้งหน้าที่
bulletต้องเลือกใช้สิทธิ
bulletการระบุเหตุผลในหนังสือบอกเลิกจ้าง
bulletการใช้สิทธิร้องพนักงานตรวจแรงงานและคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์พร้อมกัน
bulletการสละสิทธิไม่รับเงินประกัน
dot
dot
bulletฟ้องตัวแทนหางานในประเทศไทย
bulletฟ้องละเมิด
dot
dot
bulletจัดหางานไม่ได้รับอนุญาต
dot
dot
bulletประกาศคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจที่เป็นคุณต่อลูกจ้างแต่ออกภายหลังที่ลูกจ้างเกษียณอายุไปแล้ว
dot
dot
bulletศาลฎีกา
bulletศาลอุทธรณ์
bulletศาลแพ่ง
bulletศาลแพ่งกรุงเทพใต้
bulletศาลอาญา
bulletศาลแพ่งธนบุรี
bulletศาลแรงงานกลาง
bulletศาลล้มละลายกลาง
dot

dot
dot
dot
bulletกระทรวงแรงงาน
bulletกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
bulletกรมการจัดหางาน
bulletกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
bulletสำนักงานประกันสังคม
bulletสถาบันความปลอดภัยในการทำงาน
bulletศูนย์บริการข้อมูลและฝึกอบรมแรงงาน
bulletสมาคมส่งเสริมความปลอดภัยและอนามัยในการทำงาน
bulletสำนักงานบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ
dot
dot
bulletบุษบาผู้น่าสงสาร
bulletขนมดังโกะ
bulletฤกษ์สึก
dot
dot
bulletอัตราค่าจ้างขั้นต่ำรายชั่วโมง
bulletอัตราค่าจ้างขั้นต่ำใหม่ ซึ่งได้ประกาศให้มีผลใช้บังคับ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2550
bulletแนวทางในการส่งเสริมให้นักเรียน นิสิต และนักศึกษาเข้าทำงานในช่วงปิดภาคเรียนหรือภาคฤดูร้อน
bulletหลัก 7 ประการในการบริหารแรงงาน
bullet สาระสำคัญพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518
bulletหญิงไทยกับกฎหมายแรงงานใหม่
bullet10 เคล็ดลับ เพื่อผูกใจพนักงานไว้กับองค์กร
bulletร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.........
bulletร่างพ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ ฉบับคณะกรรมการกฤษฎีกา
bulletร่างพระราชบัญญัติค่าจ้างและรายได้
dot
dot
bulletโครงการรณรงค์เพื่อแรงงานไทย
bulletไทยเซฟตี้ดอทเน็ต
bulletสภาทนายความ
bulletทนายป๊อดดอทคอม
bulletสำนักกฎหมายทัศน์พงษ์ สกุลคู
bulletไทยจัสติสดอทคอม
bulletอาจารย์กฤษฎ์ อุทัยรัตน์
bulletThaiJobCenter.com
dot
dot
bulletตัวอย่างวารสารกฎหมายแรงงานเดือนเมษายน 2550
bulletตัวอย่างวารสารกฎหมายแรงงานเดือนพฤษภาคม 2550
dot
dot
bulletพุทธธรรมที่ควรนำมาใช้ในการบริหารจัดการ ตอนที่ 3 หลักการพัฒนาตนเองให้เป็นพหูสูต
bulletพุทธธรรมที่ควรนำมาใช้ในการบริหารจัดการ ตอนที่ 2 เทคนิคการปกครองคน 3 รูปแบบ
bulletพุทธธรรมที่ควรนำมาใช้ในการบริหารจัดการ ตอนที่ 1
bulletเคล็ดลับ 12 ประการในการสร้างมนุษยสัมพันธ์ที่ดี ( 12 Tips for Building Good Human Relations)
bulletผู้นำที่ดีควรมีคุณสมบัติอย่างไร
bulletฝ่ายบุคคลมือใหม่กับยายจำปีสุดแสบ ตอนที่...2
bulletฝ่ายบุคคลมือใหม่กับยายจำปีสุดแสบ
bulletเรื่องของ ค คน โดยจามจุรีสีชมพู
bulletสิทธิและหน้าที่ของนายจ้างและลูกจ้าง


ประชาสัมพันธ์ Add Url ฟรี!


การลาเพื่อกิจการสหภาพแรงงาน

 

            ตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 102  ซึ่งบัญญัติว่า “ลูกจ้างซึ่งเป็นกรรมการสหภาพแรงงานมีสิทธิลาเอไปดำเนินกิจการสหภาพแรงงานในฐานะผู้แทนลูกจ้างในการเจรจา การไกล่เกลี่ย และการชี้ขาดข้อพิพาทแรงงานและมีสิทธิลาเพื่อไปร่วมประชุมตามที่ราชการกำหนดได้ ทั้งนี้ ให้ลูกจ้างดังกล่าวแจ้งให้นายจ้างทราบล่วงหน้าถึงเหตุที่ลาโดยชัดแจ้ง พร้อมทั้งแสดงหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ถ้ามี และให้ถือว่าวันลาของลูกจ้างนั้นเป็นวันทำงาน”

 

หลักเกณฑ์สำคัญ

  1. ผู้มีสิทธิลาต้องเป็นลุกจ้างซึ่งเป็นกรรมการสหภาพแรงงาน
  2. ต้องลาเพื่อไปดำเนินการสหภาพแรงงาน
  3. ต้องเพื่อทำการอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนี้

3.1     ในฐานะผู้แทนลูกจ้างในการเจรจา การไกล่เกลี่ยและการชี้ขาดข้อพิพาทแรงงาน

3.2     ไปร่วมประชุมตามที่ทางราชการกำหนด

  1. ลูกจ้างผู้ประสงค์จะลา ต้องแจ้งให้นายจ้างทราบล่วงหน้าพร้อมทั้งระบุเหตุที่ลา โดยชัดแจ้งพร้อมแสดงหลักฐาน
  2. นายจ้างต้องอนุญาตแล้วจึงลาได้
  3. ให้ถือว่าวันลาดังกล่าวเป็นวันทำงาน

 

ข้อวิเคราะห์

  1. คำว่า ลาเพื่อไปดำเนินการสหภาพแรงงานนั้น กฎหมายมิได้ให้คำนิยามไว้ จึงมีความเห็นเป็น 2 ฝ่าย

ฝ่ายแรก เห็นว่าลูกจ้างซึ่งเป็นกรรมการสหภาพแรงงานย่อมมีสิทธิลาไปเพื่อดำเนินกิจการของสหภาพแรง

งานใดก็ได้

ฝ่ายที่สอง เห็นว่าลูกจ้างซึ่งเป็นกรรมการสหภาพแรงงานมีสิทธิลาไปดำเนินกิจการของสหภาพแรงงานที่

ตนเป็นกรรมการอยู่เท่านั้น จะไปดำเนินกิจการของสหภาพแรงงานอื่นไม่ได้

คดีนี้ศาลฎีกาได้วินิจฉัยตามความเห็นของฝ่ายที่สองว่า หมายถึง สหภาพแรงงานที่ตนเป็นกรรมการอยู่

เท่านั้น

  1. คำว่า ไปร่วมประชุมตามที่ราชการกำหนดนั้น กฎหมายก็มิได้ให้นิยามไว้ว่า ต้องเป็นการประชุมในเรื่องใด

แต่ต้องเป็นการประชุมที่ทางราชการกำหนดเท่านั้น

ราชการในที่นี้ ก็น่าจะหมายถึงราชการของกระทรวงแรงงานฯ เฉพาะที่เกี่ยวกับด้านแรงงานเท่านั้น คงไม่

หมายถึงกิจการของกรมประชาสงเคราะห์ เป็นต้น

เรื่องทางราชการกำหนด กฎหมายมิได้กำหนดว่าเป็นเรื่องอะไร ก็ควรแปลว่าเป็นเรื่องแรงงานและเป็นเรื่องที่

เกี่ยวข้องกับสหภาพแรงงานที่ผู้นั้นเป็นกรรมการอยู่เท่านั้น ไม่ควรแปลกว้างขวางว่าเป็นเรื่องของสหภาพแรง

งานใดก็ได้  และกฎหมายใช้คำว่าไปร่วมประชุม น่าจะหมายถึงการไปประชุมในเรื่องต่าง ๆ ที่เป็นงานราชการที่เกี่ยวข้องกับสหภาพของผู้นั้นเป็นกรรมการอยู่มิใช่ราชการของกระทรวงแรงงานฯ ทุกเรื่อง เพราะลูกจ้างของเอกชนนั้นไม่ใช่ข้าราชการที่จะต้องทำงานให้ราชการ แต่ลุกจ้างนั้นได้รับค่าจ้างจากนายจ้าง จึงต้องมีหน้าที่ทำงานให้นายจ้าง ผู้เขียนหมายเหตุ เคยพิจารณาคดีเกี่ยวกับการลาไปเพื่อกิจการของสหภาพหลายคดี มีข้อสังเกตว่า ทางราชการจะมีหนังสือเชิญลูกจ้างที่เป็นกรรมการสหภาพแรงงานไปประชุมเกือบทุกเรื่อง ทั้งๆ ที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับสหภาพแรงงานเลย และเชิญมากเกินไป มีบางคดีทางแรงงานจังหวัด (ปัจจุบันคือ สวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัด) ออกหนังสือเชิญลูกจ้างไปประชุมรวมแล้วปีละ 100 กว่าวันทำงาน ซึ่งน่าจะเป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้อง เป็นเจ้าพนักงานรักษากฎหมายแต่ถูกผู้อื่นยืมมือไปอ้างเพื่อไม่ต้องทำงาน ยิ่งในคดีนี้พนักงานแรงงานไปออกหนังสือเชิญผู้คัดค้านไปช่วยเหลือแก้ไขปัญหาของลูกจ้างในบริษัทอื่น ซึ่งมิใช่เป็นการเชิญไปประชุมตามที่ทางราชการกำหนด ก็ยังออกหนังสือไปให้ มีนายจ้างหลายรายปรารภกับผู้เขียน หมายเหตุว่า เขาอาจต้องฟ้องเจ้าพนักงานแรงงานเป็นคดีตัวอย่างว่าเป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 ผู้เขียนได้ปรามไว้ว่าเรื่องแรงงานนั้นไม่น่าจะรุนแรงถึงขนาดนั้น แต่ก็ฝากเป็นข้อพึงสังวรแก่เจ้าพนักงานแรงงานทั้งหลายว่าก่อนจะเซ็นอะไรขอให้พิเคราะห์ถึงข้อกฎหมายและความเหมาะสมและสมควรด้วย เพราะหนังสือเชิญของท่านสร้างความไม่เป็นธรรมแก่นายจ้าง และเมื่อนายจ้างทนไม่ได้ ตัวท่านจะเดือดร้อน

           

            คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 823/2539 ที่เขียนหมายเหตุนี้ได้วินิจฉัยวางหลักเกณฑ์ไว้ชัดเจน ดังนี้

  1. การลาไปเพื่อกิจการสหภาพนั้น ต้องเป็นกิจการของสหภาพที่ตนเองเป็นกรรมการเท่านั้น
  2. ลูกจ้างที่เป็นกรรมการสหภาพแรงงานนั้น ขอให้คิดด้วยว่าท่านยังรับค่าจ้างจากนายจ้าง จึงมีหน้าที่ต้อง

ทำงานให้นายจ้าง การจะไปช่วยราชการก็ต้องเป็นราชการที่เกี่ยวข้องกับสหภาพที่ท่านเป็นกรรมการอยู่ ท่านไม่ควรไปช่วยลูกจ้างของนายจ้างคนอื่นในขณะที่ท่านรับเงินเดือนจากนายจ้าง มิฉะนั้นอาจถูกเลิกจ้างเหมือนคดีนี้

 

ข้อสังเกต

  1. การลาเพื่อกิจการสหภาพนั้น ต้องลาก่อน เมื่อได้รับอนุญาตแล้วจึงหยุดได้ มิใช่หยุดก่อนแล้วจึงลา

ย้อนหลัง หากโชคดีที่นายจ้างอนุญาตก็รอดตัว หากโชคร้ายนายจ้างไม่อนุญาตก็ถือว่าละทิ้งหน้าที่ เมื่อครบ 3 วันทำงานขึ้นไปโดยไม่มีเหตุอันสมควรก็ถูกเลิกจ้างได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย

  1. การที่มีข้อตกลงกับนายจ้างไว้ว่าลูกจ้างที่เป็นกรรมการสหภาพแรงงานมีสิทธิลาเพื่อกิจการสหภาพได้ปีละ

ไม่เกินกี่วัน เช่นไม่เกิน 90 วัน ไม่เกิน 60 วัน เป็นต้น ข้อตกลงดังกล่าวเป็นเพียงกำหนดให้ลูกจ้างมีสิทธิที่จะลาเท่านั้น และจะลาได้ก็ต้องเข้าหลักเกณฑ์ของกฎหมายกำหนด ทำนองเดียวกับการลาป่วยซึ่งกฎหมายกำหนดว่าลาได้เท่าที่ป่วยจริง แต่มีสิทธิได้ค่าจ้างปีละไม่เกิน 30 วันทำงาน หมายความว่า ลูกจ้างต้องป่วยจริง จึงมีสิทธิลา มิใช่ปีหนึ่งไม่ว่าจะป่วยหรือไม่ก็มีสิทธิลาป่วยได้ 30 วัน กรณีข้อตกลงให้ลาเพื่อกิจการสหภาพก็เช่นเดียวกัน แม้จะกำหนดให้มีสิทธิ ลาได้ไม่เกินปีละ 90 วัน ก็ใช่ว่าจะใช้สิทธิได้ 90 วัน ลูกจ้างจะใช้สิทธิได้ต่อเมื่อมีความจำเป็นต้องลาเพื่อกิจการสหภาพของตนเองเท่านั้น หากไม่เข้าเกณฑ์ตามกฎหมาย ก็ไม่มีสิทธิลา หากลาไปก็ถือว่าละทิ้งหน้าที่ อาจถูกเลิกจ้างได้

 

 

ที่มา : รวมคำพิพากษาศาลฎีกา ตาม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 (พ.ศ. 2532-2541) ,อภิญญา  สุจริตตานันท์ (หน้า 62 – 65)

 

 

 

 

วันที่ Update 15 พฤษภาคม 2550

 




คำอธิบาย กฎหมายแรงงาน

ความแตกต่างระหว่างมาตรา 31 วรรคหนึ่งกับมาตรา 121 (1) article
ผลทางกฎหมายของการนัดหยุดงานและการปิดงาน article
ผลทางกฎหมายของการนัดหยุดงานและการปิดงาน article
ผลทางกฎหมายของการนัดหยุดงานและการปิดงาน article
ผลทางกฎหมายของการนัดหยุดงานและการปิดงาน article
ผลทางกฎหมายของการนัดหยุดงานและการปิดงาน article
ผลทางกฎหมายของการนัดหยุดงานและการปิดงาน article
ผลทางกฎหมายของการนัดหยุดงานและการปิดงาน article
ผลทางกฎหมายของการนัดหยุดงานและการปิดงาน article
ผลทางกฎหมายของการนัดหยุดงานและการปิดงาน article
ผลทางกฎหมายของการนัดหยุดงานและการปิดงาน article
ผลทางกฎหมายของการนัดหยุดงานและการปิดงาน article
ผลทางกฎหมายของการนัดหยุดงานและการปิดงาน article
ผลทางกฎหมายของการนัดหยุดงานและการปิดงาน article
รูปแบบการนัดหยุดงานและการปิดงาน article
รูปแบบการนัดหยุดงานและการปิดงาน article
รูปแบบการนัดหยุดงานและการปิดงาน article
รูปแบบการนัดหยุดงานและการปิดงาน article
รูปแบบการนัดหยุดงานและการปิดงาน ตอนที่ 3 การนัดหยุดงานรูปแบบสับเปลี่ยนหมุนเวียนและแบบสกัดกั้นสายการผลิต article
รูปแบบการนัดหยุดงานและการปิดงาน article
รูปแบบการนัดหยุดงานและการปิดงาน article
ความแตกต่างระหว่างข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่เกิดและไม่ได้เกิดจากการแจ้งข้อเรียกร้อง article
หน้าที่ของนายจ้างและลูกจ้าง article
คำเตือน article



Copyright © 2010 All Rights Reserved.