ReadyPlanet.com
dot dot
dot
dot
bulletขอเลิกจ้างกรรมการลูกจ้างโดยไม่จ่าย ค่าชดเชย
bulletเลิกจ้างนอกข้อยกเว้น มาตรา 123
bulletลงชื่อสนับสนุนข้อเรียกร้อง
bulletข้อตกลงที่สิ้นผลผูกพัน
bulletห้ามทำสัญญาจ้างฯขัดข้อตกลงสภาพการจ้าง
dot
dot
bulletคำวินิจฉัยของศาลที่ไม่มีเหตุผลประกอบ
bulletการปฏิบัติตามคำพิพากษา
dot
dot
bulletสิทธิในการเรียกค่าขาดไร้อุปการะ
bullet“บุตร” หมายความว่าอย่างไร ?
bulletไม่ถือว่าได้รับความเดือดร้อน
dot
dot
bulletหนังสือเตือนไม่ใช่โทษ
bulletประมาทเลินเล่อ
bulletไม่ผิดยักยอกแต่เลิกจ้างเป็นธรรม
bulletปิดกิจการชั่วคราว
bulletความหมายของคำว่า “ผู้บังคับบัญชา”
bulletทำงานแต่ละทิ้งหน้าที่
bulletต้องเลือกใช้สิทธิ
bulletการระบุเหตุผลในหนังสือบอกเลิกจ้าง
bulletการใช้สิทธิร้องพนักงานตรวจแรงงานและคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์พร้อมกัน
bulletการสละสิทธิไม่รับเงินประกัน
dot
dot
bulletฟ้องตัวแทนหางานในประเทศไทย
bulletฟ้องละเมิด
dot
dot
bulletจัดหางานไม่ได้รับอนุญาต
dot
dot
bulletประกาศคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจที่เป็นคุณต่อลูกจ้างแต่ออกภายหลังที่ลูกจ้างเกษียณอายุไปแล้ว
dot
dot
bulletศาลฎีกา
bulletศาลอุทธรณ์
bulletศาลแพ่ง
bulletศาลแพ่งกรุงเทพใต้
bulletศาลอาญา
bulletศาลแพ่งธนบุรี
bulletศาลแรงงานกลาง
bulletศาลล้มละลายกลาง
dot

dot
dot
dot
bulletกระทรวงแรงงาน
bulletกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
bulletกรมการจัดหางาน
bulletกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
bulletสำนักงานประกันสังคม
bulletสถาบันความปลอดภัยในการทำงาน
bulletศูนย์บริการข้อมูลและฝึกอบรมแรงงาน
bulletสมาคมส่งเสริมความปลอดภัยและอนามัยในการทำงาน
bulletสำนักงานบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ
dot
dot
bulletบุษบาผู้น่าสงสาร
bulletขนมดังโกะ
bulletฤกษ์สึก
dot
dot
bulletอัตราค่าจ้างขั้นต่ำรายชั่วโมง
bulletอัตราค่าจ้างขั้นต่ำใหม่ ซึ่งได้ประกาศให้มีผลใช้บังคับ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2550
bulletแนวทางในการส่งเสริมให้นักเรียน นิสิต และนักศึกษาเข้าทำงานในช่วงปิดภาคเรียนหรือภาคฤดูร้อน
bulletหลัก 7 ประการในการบริหารแรงงาน
bullet สาระสำคัญพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518
bulletหญิงไทยกับกฎหมายแรงงานใหม่
bullet10 เคล็ดลับ เพื่อผูกใจพนักงานไว้กับองค์กร
bulletร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.........
bulletร่างพ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ ฉบับคณะกรรมการกฤษฎีกา
bulletร่างพระราชบัญญัติค่าจ้างและรายได้
dot
dot
bulletโครงการรณรงค์เพื่อแรงงานไทย
bulletไทยเซฟตี้ดอทเน็ต
bulletสภาทนายความ
bulletทนายป๊อดดอทคอม
bulletสำนักกฎหมายทัศน์พงษ์ สกุลคู
bulletไทยจัสติสดอทคอม
bulletอาจารย์กฤษฎ์ อุทัยรัตน์
bulletThaiJobCenter.com
dot
dot
bulletตัวอย่างวารสารกฎหมายแรงงานเดือนเมษายน 2550
bulletตัวอย่างวารสารกฎหมายแรงงานเดือนพฤษภาคม 2550
dot
dot
bulletพุทธธรรมที่ควรนำมาใช้ในการบริหารจัดการ ตอนที่ 3 หลักการพัฒนาตนเองให้เป็นพหูสูต
bulletพุทธธรรมที่ควรนำมาใช้ในการบริหารจัดการ ตอนที่ 2 เทคนิคการปกครองคน 3 รูปแบบ
bulletพุทธธรรมที่ควรนำมาใช้ในการบริหารจัดการ ตอนที่ 1
bulletเคล็ดลับ 12 ประการในการสร้างมนุษยสัมพันธ์ที่ดี ( 12 Tips for Building Good Human Relations)
bulletผู้นำที่ดีควรมีคุณสมบัติอย่างไร
bulletฝ่ายบุคคลมือใหม่กับยายจำปีสุดแสบ ตอนที่...2
bulletฝ่ายบุคคลมือใหม่กับยายจำปีสุดแสบ
bulletเรื่องของ ค คน โดยจามจุรีสีชมพู
bulletสิทธิและหน้าที่ของนายจ้างและลูกจ้าง


ประชาสัมพันธ์ Add Url ฟรี!


จ่ายค่าชดเชยอย่างมีเงื่อนไข กับ สิทธิการได้รับดอกเบี้ย

 

 

            ถ้านายจ้างเลิกจ้างแล้วจ่ายค่าชดเชยให้ แต่ ลูกจ้างปฏิเสธไม่ยอมรับไม่ถือว่า นายจ้างผิดนัดนายจ้างไม่ต้องรับผิดในดอกเบี้ย เรื่องนี้ เขียนให้อ่านนานแล้ว (ยังจำได้ไหม) ?

 

            เรื่องที่จะเขียนวันนี้ก็คล้ายๆกัน คือ นายจ้างบอกเลิกจ้างแล้วก็เรียกให้ลูกจ้างมารับค่าชดเชย จะต่างกันก็ตรงที่คราวนี้ให้ลูกจ้างลงชื่อในเอกสารว่า “ได้รับเงินค่าชดเชยครบถ้วนแล้ว และไม่ติดใจเรียกร้องเงินอื่นใดอีกทั้งสิ้น” พอลูกจ้างเห็นเข้าก็ผงะ ไม่กล้าลงชื่อ (กลัวหมดสิทธิฟ้องเรียกค่าเสียหาย) เลยตัดใจไม่รับค่าชดเชย (เสียดายก็เสียดาย) สุดท้ายก็ต้องมาฟ้องนายจ้างว่า เลิกจ้างไม่เป็นธรรม เรียกค่าชดเชยพร้อมดอกเบี้ยและค่าเสียหาย

 

นายจ้างจำได้ว่า เคยอ่านผ่านตามาจากที่ไหนสักแห่ง (จำไม่ได้แล้ว) ที่บอกว่า ถ้านายจ้างเสนอจ่ายค่าชดเชยให้แล้ว (ไม่ถือว่า นายจ้างผิดนัด) ลูกจ้างปฏิเสธไม่ยอมรับก็ช่วยไม่ได้ อดไปเลย ดอกเบี้ยก็ไม่ได้ (สมน้ำหน้า) นายจ้างก็เลยนำมาเป็นข้อต่อสู้คดีไม่ยอมจ่ายดอกเบี้ยให้ลูกจ้าง ถ้าเป็นอย่างนี้ จะยังตอบว่า ลูกจ้างไม่มีสิทธิได้รับดอกเบี้ยอยู่อีกหรือไม่ ? (ท่านผู้อ่านทั้งหลาย)

 

            การที่จะพิจารณาว่า นายจ้างต้องรับผิดในดอกเบี้ยหรือไม่นั้น ต้องดูเสียก่อนว่า การเสนอขอจ่ายค่าชดเชยของนายจ้าง โดยมีเงื่อนไขที่ว่า ไม่ติดใจเรียกร้องเงินอื่นใดอีกทั้งสิ้นนั้น ถือเป็นการขอชำระหนี้ที่ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ ?

 

หากชอบ ก็ถือว่านายจ้างไม่ผิดนัด (ลูกจ้างต่างหากที่ผิดนัด) นายจ้างก็ไม่ต้องรับผิดในดอกเบี้ย หากไม่ชอบ ก็ถือว่า นายจ้างผิดนัด นายจ้างก็ต้องรับผิดในดอกเบี้ย เรื่องก็มีเท่านี้แหละ (สาธุชน ทั้งหลาย)

 

เรื่องนี้ คำตอบอยู่ในกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ว่าด้วย หนี้ (อย่าไปหาในกฎหมายแรงงานนะ หาไม่เจอหรอก) กฎหมายเขาบอกว่า ถ้าลูกหนี้ขอปฏิบัติการชำระหนี้ และเจ้าหนี้ไม่รับชำระหนี้นั้น โดยปราศจากมูลเหตุอันจะอ้างกฎหมายได้ไซร์ ท่านว่าเจ้าหนี้ตกเป็นผู้ผิดนัด (เดี๋ยวอย่าทำเป็นงง) ลูกหนี้ก็คือ นายจ้าง เจ้าหนี้ก็คือ ลูกจ้าง การชำระหนี้ก็คือ ค่าชดเชย การที่นายจ้างขอจ่ายค่าชดเชย ย่อมเท่ากับว่า นายจ้างขอปฏิบัติการชำระหนี้แล้ว แต่การขอปฏิบัติการชำระหนี้ของนายจ้างมีเงื่อนไขที่ปวดร้าวหัวใจ (ลูกจ้าง) ซึ่งกฎหมาย (อีกนั่นแหละ) เขาบอกไว้อีกว่า การชำระหนี้จะให้สำเร็จผลเป็นอย่างใด ลูกหนี้จะต้องขอปฏิบัติการชำระหนี้ต่อเจ้าหนี้อย่างนั้นโดยตรง การที่นายจ้างต้องการให้หนี้ค่าชดเชยระงับหรือสำเร็จผล นายจ้างก็ต้องเสนอชำระค่าชดเชยอย่างตรงไปตรงมา การที่นายจ้างเสนอชำระค่าชดเชย โดยมีเงื่อนไขย่อมไม่อาจทำให้หนี้ระงับหรือสำเร็จผลได้ การขอชำระหนี้ของนายจ้างจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย ลูกจ้างจึงมีสิทธิปฏิเสธได้โดยชอบ ลูกจ้างจึงไม่ตกเป็นผู้ผิดนัด (นายจ้างต่างหากที่ตกเป็นผู้ผิดนัด) เมื่อการขอชำระหนี้ไม่ชอบก็ต้องถือว่า นายจ้างผิดนัดอยู่วันยังค่ำ นายจ้างจึงต้องรับผิดในดอกเบี้ยของเงินค่าชดเชยนับแต่วันเลิกจ้างซึ่งถือเป็นวันผิดนัด เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ (ร้อยละ 15 ต่อปี) นะจะบอกให้

 

คำตอบเรื่องนี้ไม่เหมือนเดิมแล้ว แม้นายจ้างจะเสนอจ่ายค่าชดเชย แล้วลูกจ้างปฏิเสธก็ตาม แต่คำตอบก็คือ นายจ้างยังต้องรับผิดในดอกเบี้ยตามกฎหมาย

 

                                          สมบัติ ลีกัล 10 กรกฎาคม 2550




กฎหมายอื่นใน กฎหมายแรงงาน

เกษียณอายุ กับ การบอกกล่าวล่วงหน้า article
ลิขสิทธิ์ กับ ลูกจ้างผู้รับเหมาแรงงาน article
หลักการแสดงเจตนา กับ การเจรจาข้อเรียกร้อง article
การปรับค่าจ้างย้อนหลัง กับ ดอกเบี้ย article
ลูกจ้างทำหนังสือรับสภาพหนี้ให้นายจ้าง โดยมีผู้ค้ำประกันคนใหม่ยอมรับผิด ผู้ค้ำประกันคนเก่าพ้นความรับผิดหรือไม่ ? article
No Work No Pay
ทำสัญญาจ้างงานแล้ว ก่อนถึงวันเริ่มงาน เปลี่ยนใจยกเลิกสัญญา ผลทางกฎหมายเป็นอย่างไร ?
บอกเลิกจ้างขณะข้อตกลงมีผลบังคับ แต่ให้มีผลในวันที่ข้อตกลงสิ้นอายุแล้ว ผลทางกฎหมาย ?
ลงชื่อทำงานล่วงเวลาแล้วขอยกเลิก ผลทางกฎหมายเป็นอย่างไร ?
เป็นลูกจ้างก่อนนายจ้างเป็นนิติบุคคลอายุงานนับอย่างไร ?
ละเมิด กับ ผิดสัญญา เหมือนและต่างกันอย่างไร ? article
อายุความ กรณีละเมิด กับ ผิดสัญญา ต่างกันอย่างไร ? article
ดอกเบี้ย กรณีละเมิด กับ ผิดสัญญา ต่างกันอย่างไร ? article
การอุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาของศาลแรงงาน กรณี เงินเพิ่ม กับ ความรับผิดในการชำระเงินเพิ่ม article
เงินทดแทนกรณีว่างงาน กับ การเกษียณอายุ article
นายจ้างบอกเลิกจ้างแล้วยกเลิกได้หรือไม่ ? article
นายจ้างบอกเลิกจ้างแล้วขอเลื่อนเวลาให้เร็วขึ้นได้หรือไม่ ? article
ลูกจ้างแจ้งลาออกล่วงหน้าแล้วขอเลื่อนเวลาให้เร็วขึ้นได้หรือไม่ ? article
คณะกรรมการสหภาพที่ถูกนายทะเบียนเพิกถอน ตอน 2 ..ไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้ article
คณะกรรมการสหภาพที่ถูกนายทะเบียนเพิกถอน ตอนที่ 1 article
การประนีประนอมยอมความค่าเสียหายตามคำสั่งคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ article
ปัญหาดอกเบี้ยและเงินเพิ่ม กรณีลูกจ้างปฏิเสธเงินชดเชย article
ความเห็นในเชิงกฎหมายกับการทำหน้าที่ที่ปรึกษากฎหมายแรงงานสัมพันธ์ article
อายุความ กับ วันหยุดพักผ่อนประจำปี article
ผู้ค้ำประกัน 2 คน ค้ำประกันการทำงานลูกจ้างคนเดียวกัน รับผิดอย่างไร article
การจ่ายค่าจ้าง กับ การไม่มอบงานให้ทำ article
ระยะเวลา อายุความ การเริ่มเจรจาข้อเรียกร้องใน 3 วัน article
การจ่ายเงินสกุลอื่นตามสัญญาจ้างเป็นเงินไทยทำอย่างไร?จึงถูกกฎหมาย article
การทำหน้าที่ฝ่ายบุคคลกับความรับผิดในทางแพ่ง article
การฟ้องเพิกถอนคำสั่งคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ กับ อายุความ article



Copyright © 2010 All Rights Reserved.