ReadyPlanet.com
dot dot
dot
dot
bulletขอเลิกจ้างกรรมการลูกจ้างโดยไม่จ่าย ค่าชดเชย
bulletเลิกจ้างนอกข้อยกเว้น มาตรา 123
bulletลงชื่อสนับสนุนข้อเรียกร้อง
bulletข้อตกลงที่สิ้นผลผูกพัน
bulletห้ามทำสัญญาจ้างฯขัดข้อตกลงสภาพการจ้าง
dot
dot
bulletคำวินิจฉัยของศาลที่ไม่มีเหตุผลประกอบ
bulletการปฏิบัติตามคำพิพากษา
dot
dot
bulletสิทธิในการเรียกค่าขาดไร้อุปการะ
bullet“บุตร” หมายความว่าอย่างไร ?
bulletไม่ถือว่าได้รับความเดือดร้อน
dot
dot
bulletหนังสือเตือนไม่ใช่โทษ
bulletประมาทเลินเล่อ
bulletไม่ผิดยักยอกแต่เลิกจ้างเป็นธรรม
bulletปิดกิจการชั่วคราว
bulletความหมายของคำว่า “ผู้บังคับบัญชา”
bulletทำงานแต่ละทิ้งหน้าที่
bulletต้องเลือกใช้สิทธิ
bulletการระบุเหตุผลในหนังสือบอกเลิกจ้าง
bulletการใช้สิทธิร้องพนักงานตรวจแรงงานและคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์พร้อมกัน
bulletการสละสิทธิไม่รับเงินประกัน
dot
dot
bulletฟ้องตัวแทนหางานในประเทศไทย
bulletฟ้องละเมิด
dot
dot
bulletจัดหางานไม่ได้รับอนุญาต
dot
dot
bulletประกาศคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจที่เป็นคุณต่อลูกจ้างแต่ออกภายหลังที่ลูกจ้างเกษียณอายุไปแล้ว
dot
dot
bulletศาลฎีกา
bulletศาลอุทธรณ์
bulletศาลแพ่ง
bulletศาลแพ่งกรุงเทพใต้
bulletศาลอาญา
bulletศาลแพ่งธนบุรี
bulletศาลแรงงานกลาง
bulletศาลล้มละลายกลาง
dot

dot
dot
dot
bulletกระทรวงแรงงาน
bulletกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
bulletกรมการจัดหางาน
bulletกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
bulletสำนักงานประกันสังคม
bulletสถาบันความปลอดภัยในการทำงาน
bulletศูนย์บริการข้อมูลและฝึกอบรมแรงงาน
bulletสมาคมส่งเสริมความปลอดภัยและอนามัยในการทำงาน
bulletสำนักงานบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ
dot
dot
bulletบุษบาผู้น่าสงสาร
bulletขนมดังโกะ
bulletฤกษ์สึก
dot
dot
bulletอัตราค่าจ้างขั้นต่ำรายชั่วโมง
bulletอัตราค่าจ้างขั้นต่ำใหม่ ซึ่งได้ประกาศให้มีผลใช้บังคับ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2550
bulletแนวทางในการส่งเสริมให้นักเรียน นิสิต และนักศึกษาเข้าทำงานในช่วงปิดภาคเรียนหรือภาคฤดูร้อน
bulletหลัก 7 ประการในการบริหารแรงงาน
bullet สาระสำคัญพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518
bulletหญิงไทยกับกฎหมายแรงงานใหม่
bullet10 เคล็ดลับ เพื่อผูกใจพนักงานไว้กับองค์กร
bulletร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.........
bulletร่างพ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ ฉบับคณะกรรมการกฤษฎีกา
bulletร่างพระราชบัญญัติค่าจ้างและรายได้
dot
dot
bulletโครงการรณรงค์เพื่อแรงงานไทย
bulletไทยเซฟตี้ดอทเน็ต
bulletสภาทนายความ
bulletทนายป๊อดดอทคอม
bulletสำนักกฎหมายทัศน์พงษ์ สกุลคู
bulletไทยจัสติสดอทคอม
bulletอาจารย์กฤษฎ์ อุทัยรัตน์
bulletThaiJobCenter.com
dot
dot
bulletตัวอย่างวารสารกฎหมายแรงงานเดือนเมษายน 2550
bulletตัวอย่างวารสารกฎหมายแรงงานเดือนพฤษภาคม 2550
dot
dot
bulletพุทธธรรมที่ควรนำมาใช้ในการบริหารจัดการ ตอนที่ 3 หลักการพัฒนาตนเองให้เป็นพหูสูต
bulletพุทธธรรมที่ควรนำมาใช้ในการบริหารจัดการ ตอนที่ 2 เทคนิคการปกครองคน 3 รูปแบบ
bulletพุทธธรรมที่ควรนำมาใช้ในการบริหารจัดการ ตอนที่ 1
bulletเคล็ดลับ 12 ประการในการสร้างมนุษยสัมพันธ์ที่ดี ( 12 Tips for Building Good Human Relations)
bulletผู้นำที่ดีควรมีคุณสมบัติอย่างไร
bulletฝ่ายบุคคลมือใหม่กับยายจำปีสุดแสบ ตอนที่...2
bulletฝ่ายบุคคลมือใหม่กับยายจำปีสุดแสบ
bulletเรื่องของ ค คน โดยจามจุรีสีชมพู
bulletสิทธิและหน้าที่ของนายจ้างและลูกจ้าง


ประชาสัมพันธ์ Add Url ฟรี!


เลิกจ้างเพราะละทิ้งหน้าที่ 3 วัน กับ ละทิ้งหน้าที่ 3 เดือน เลือกอะไรดี ?

 

                ในองค์กรใหญ่ๆอาจเป็นไปได้ที่ลูกจ้างไม่มาทำงานเป็นเวลานานแต่นายจ้างก็ยังไม่ได้เลิกจ้าง ปล่อยให้เนิ่นนานไปนับเดือนหรือหลายเดือนถึงจะเลิกจ้าง ครั้นพอจะเลิกจ้างจะอ้างเหตุอะไรดี ระหว่างละทิ้งหน้าที่ 3 วันทำงานติดต่อกันโดยไม่มีเหตุอันควร กับ ละทิ้งหน้าที่ 3 เดือน ติดต่อกันโดยไม่มีเหตุอันควร ?

 

                หากจะเลิกจ้างด้วยข้อหาละทิ้งหน้าที่ 3 เดือนติดต่อกันโดยไม่มีเหตุอันควรก็น่าหนักแน่นกว่าและกันพลาดได้มากกว่าและน่าจะมีความหมายรวมถึงข้อหาละทิ้งหน้าที่ 3 วันทำงานติดต่อกันโดยไม่มีเหตุอันควรด้วยเช่นกัน เพราะ 3 เดือนนั้นมากกว่า 3 วัน การละทิ้งหน้าที่ 3 เดือนย่อมหมายถึงการละทิ้งหน้าที่เกิน 3 วันอย่างแน่นอน การเลิกจ้างด้วยเหตุละทิ้งหน้าที่ 3 เดือนย่อมดีกว่าเลิกจ้างเพราะเหตุละทิ้งหน้าที่ 3 วัน ว่าแล้วก็เลยเขียนหนังสือเลิกจ้างอ้างเหตุลูกจ้างละทิ้งหน้าที่ 3 เดือน

 

                ความจริงก็น่าจะเป็นอย่างที่นายจ้างคิด แต่เรื่องนี้หาได้เป็นเช่นนั้นไม่ เมื่อเกิดคดีพิพาทในศาล นายจ้างอ้างว่า ลูกจ้างละทิ้งหน้าที่เป็นเวลา 3 เดือน ลูกจ้างก็เถียงว่า เปล่า ไม่ได้ละทิ้งหน้าที่ ไม่ว่าจะกี่วันก็ไม่ได้ละทิ้งหน้าที่ ศาลเลยต้องชี้ขาดว่า ลูกจ้างละทิ้งหน้าที่ 3 เดือน ตามที่นายจ้างอ้างจริงหรือเปล่า นายจ้างก็ลุ้นอยู่ในใจว่า หากศาลฟังข้อเท็จจริงว่า ลูกจ้างมิได้ละทิ้งหน้าที่ถึง 3 เดือนตามที่ตนเองอ้าง อย่างน้อยขอให้ฟังว่า ลูกจ้างละทิ้งหน้าที่ตั้งแต่ 3 วันทำงานขึ้นไปเป็นใช้ได้ ตนเองก็คงชนะคดี

 

                ในที่สุดศาลฟังข้อเท็จจริงว่า ลูกจ้างมิได้ละทิ้งหน้าที่ตามที่นายจ้างอ้าง นายจ้างเลยแพ้คดีคราวนี้ก็เลยเกิดข้อกังขา เพราะนายจ้างสงสัยว่า หากลูกจ้างมิได้ละทิ้งหน้าที่ 3 เดือนตามอ้าง ก็น่าจะมีการละทิ้งหน้าที่บ้างไม่มากก็น้อย ขอเพียงละทิ้งหน้าที่แค่ 3 วัน นายจ้างก็ชนะคดีแล้ว ทำไมศาลจึงไม่วินิจฉัย การละทิ้งหน้าที่ 3 เดือน ย่อมมีความหมายอยู่ในตัวแล้วว่า เป็นการละทิ้งหน้าที่ตั้งแต่ 3 วันทำงานขึ้นไปอย่างแน่นอน นายจ้างก็เลยอุทธรณ์ต่อศาลฎีกาว่า ตามพฤติการณ์แห่งคดีฟังได้ว่า ลูกจ้างละทิ้งหน้าที่เป็นเวลากว่า 3  วันทำงาน

 

 ปัญหาจึงเกิดขึ้นในชั้นฎีกาว่า อุทธรณ์ของนายจ้างชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ ?

 

ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ข้ออุทธรณ์ของนายจ้างนั้นเป็นเรื่องที่มิได้ยกขึ้นมาว่ากล่าวกันโดยชอบในศาลแรงงานมาก่อน ศาลฎีกาเลยไม่รับวินิจฉัย เท่ากับศาลฎีกาเห็นว่า เมื่อครั้งที่ต่อสู้กันในศาลแรงงานนั้น เถียงกันเพียงว่า ลูกจ้างละทิ้งหน้าที่ 3 เดือนจริงหรือไม่เท่านั้น ที่ว่าลูกจ้างละทิ้งหน้าที่เกิน 3 วันไม่ได้เถียงกัน เมื่อไม่ได้เถียงกันจึงห้ามยกขึ้นมาอุทธรณ์ แม้อุทธรณ์ขึ้นมาก็ไม่รับวินิจฉัย  เรื่องก็มีแค่นี้เอง

 

 ดังนั้น ที่นายจ้างเข้าใจว่า เขียนหนังสือเลิกจ้างอ้างเหตุว่า ลูกจ้างละทิ้งหน้าที่ 3 เดือนย่อมหนักแน่นกว่า ละทิ้งหน้าที่ 3 วัน อย่างไรเสีย การละทิ้งหน้าที่ 3 เดือนย่อมมีความหมายอยู่ในตัวแล้วว่า เป็นการละทิ้งหน้าที่ 3 วันด้วยนั้น แม้จะเป็นจริงตามที่นายจ้างเข้าใจ แต่ ความเข้าใจอย่างนี้ใช้ไม่ได้กับกระบวนพิจารณาคดีของศาล หากนายจ้างต้องการอ้างเรื่อง ละทิ้งหน้าที่ 3 วันเป็นประโยชน์แก่ตน นายจ้างต้องเขียนไว้ในคำฟ้องหรือคำให้การโดยชัดแจ้งด้วยเพื่อจะได้ผ่านการพิจารณาวินิจฉัยจากศาลแรงงานมาก่อน  นายจ้างจึงจะมีสิทธิยกขึ้นต่อสู้ในชั้นอุทธรณ์ได้ เรื่องนี้จึงเป็นอุทธาหรณ์ให้ผู้ที่ต้องไปศาลไม่ว่าจะเป็นโจทก์หรือจำเลยก็ตาม เมื่อจะต้องเขียนฟ้องหรือเขียนคำให้การก็อย่าลืมตรวจสอบข้ออ้างข้อเถียงของตนว่าได้เขียนไว้ครบถ้วนทุกประเด็นหรือยัง จะได้ไม่เสียสิทธิในการอุทธรณ์เหมือนเช่นคดีนี้

 

                        ............................................... สมบัติ ลีกัล 7 มีนาคม 2551




กฎหมายวิธีพิจารณาคดีแรงงาน

การบรรยายฟ้อง ละเมิด กับ ผิดสัญญาจ้าง article
เหตุตามหนังสือเลิกจ้าง กับ การพิจารณาคดี article
บอกกล่าวล่วงหน้า กับ เลิกจ้างไม่เป็นธรรม article
เกษียณอายุ กับ การเลิกจ้างไม่เป็นธรรม article
การรับข้อเท็จจริงในศาลแรงงาน article
การแก้ฟ้องในคดีแรงงาน article
เหตุเลิกจ้างที่ไม่ปรากฏในหนังสือเลิกจ้าง กับ การพิจารณาของ ครส. และศาล article
ข้อกฎหมายที่ไม่เป็นสาระแก่การพิจารณาของศาลฎีกา article
การถอนฟ้อง กับ คดีแรงงาน
เมื่อพนักงานตรวจแรงงานลืมสั่งจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ทำอย่างไรดี ?
การฟ้องผู้รับเหมาชั้นต้นให้รับผิดตามคำสั่งพนักงานตรวจแรงงาน
พนักงานตรวจแรงงานฟ้องแย้งเรียกให้นายจ้างซึ่งเป็นโจทก์จ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าที่ตนมิได้สั่งได้หรือไม่ ?
เหตุผลในการบอกเลิกจ้าง กับ สิทธิในการยกขึ้นอ้างในศาล
สิทธิในดอกเบี้ยในค่าเสียหายตามคำสั่งคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ กับ การไม่ใช้สิทธิฟ้องแย้งเรียกดอกเบี้ยของลูกจ้าง article
ปัญหาการชำระดอกเบี้ยในค่าเสียหายตามคำสั่งคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ article
การชำระเงินเพิ่ม กับ การเรียกคืนเงินเพิ่ม article
การฟ้องเพิกถอนคำวินิจฉัยที่กฎหมายบัญญัติให้เป็นที่สุด article



Copyright © 2010 All Rights Reserved.