The Cabinet Increase Social Security Benefits to Encourage Informal Workers
โดย..บัณฑิตย์ ธนชัยเศรษฐวุฒิ
ในรอบปี 2552 มีการสัมมนาเพื่ออภิปรายถึงการคุ้มครองคนทำงานบ้านอย่างน้อย 3 ครั้ง ที่รับรู้มาเริ่มต้นจากการสัมมนาเรื่อง “คนทำงานบ้าน-สู่การจ้างงานที่มีคุณค่า?” จัดโดยกระทรวงแรงงาน และมูลนิธิฟรีดริค เอแบร์ท (FES) ในวันที่ 2 กรกฎาคม 2552 ที่โรงแรมสยามซิตี้ กทม. ซึ่งเป็นการสัมมนาต่อเนื่องจากเดือนกรกฎาคม 2551 ที่เคยจัดมาแล้ว และเป็นหนึ่งในโครงการร่วมสนับสนุนกระบวนการจัดทำ “อนุสัญญาว่าด้วยคนทำงานบ้าน” ที่กำลังดำเนินการอยู่ อันจะนำไปสู่การรับรองอนุสัญญาในที่ประชุมใหญ่ องค์การแรงงานระหว่างประเทศ ปี ค.ศ. 2011 (พ.ศ. 2554) โดยมีผู้แทนองค์การแรงงานระหว่างประเทศ มาบรรยายเรื่องการเคลื่อนไหวระดับสากลของการกำหนดมาตรฐานคุ้มครองคนทำงานบ้านผู้ประสานงานโครงการณรงค์เพื่อคนทำงานบ้านในเอเชีย-แปซิฟิก จากองค์กร IUF อภิปรายเรื่อง “การคุ้มครองทางกฎหมาย และส่งเสริมพัฒนาคนทำงานบ้าน : ตัวอย่างรูปธรรมบางประเทศในเอเชีย”และมีผู้ร่วมอภิปรายจากคนทำงานบ้าน นักกฎหมายแรงงาน กรรมาธิการแรงงาน สภาผู้แทนราษฎร และที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน
ต่อมาในวันที่ 27 สิงหาคม 2552 คณะกรรมาธิการการแรงงาน สภาผู้แทนราษฎร ร่วมกับหลายองค์กร เช่น เครือข่ายแรงงานนอกระบบ เครือข่ายปฏิบัติการเพื่อแรงงานข้ามชาติ แผนพัฒนาคุณภาพชิวิต แรงงานนอกระบบ สสส. จัดสัมมนาเรื่อง “อนาคตแรงงานนอกระบบ อาชีพคนทำงานบ้าน”เพื่อให้พี่น้องเครือข่ายแรงงานงานทั้งในและนอกระบบ แรงงานข้ามชาติ องค์กรพัฒนาเอกชน นักวิชาการ และสื่อมวลชน เข้าใจปัญหาผู้ทำงานบ้านและความจำเป็น ที่ต้องมีการพัฒนากฎหมาย และกลไกการคุ้มครองผู้ทำงานบ้านอย่างเป็นธรรม
ในเดือนถัดมา ก็มีการจัดสัมมนาโดยองค์การแรงงานระหว่างประเทศ
รายงาน และงานวิจัยหลายฉบับแสดงให้เห็นว่า การทำงานตามกรอบงานที่มีคุณค่าของคนทำงานทั่วโลกมีความคืบหน้าไปอย่างยากลำบาก คนทำงานบ้านส่วนใหญ่เป็นผู้หญิง และงานที่เธอทำ ก็ช่วยให้คนทำงานประเภทอื่นๆ สามารถที่จะปรับปรุงมาตรฐานการครองชีพได้ เนื่องจากลักษณะเฉพาะอาชีพ และความเอาใจใส่ที่ไม่เพียงพอต่อลักษณะเฉพาะ ของกฎหมายแรงงานระหว่างประเทศ และกฎหมายแต่ละประเทศ ทำให้คนทำงานบ้าน ไม่ได้รับสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานประกอบด้วย สิทธิขั้นพื้นฐานในการทำงาน ข้อกำหนดในการจ้างงานที่มีลักษณะเฉพาะแตกต่างกัน วิธีคิดค่าติบแทน วันเวลาทำงาน และเงื่อนไขการทำงานอื่นๆ ในระยะ 2-3 ปีนี้ รัฐบาลบางประเทศ ได้ริเริ่มขั้นตอนปรับปรุงการคุ้มครองทางกฎหมายและด้านอื่นๆ แก่คนทำงานบ้าน การพัฒนากฎหมายสากล จึงหมายถึงการเติมช่องว่างที่สำคัญ ของภาระกิจส่งเสริมการทำงานที่มีคุณค่าให้ทั่วถึงทุกคน แสวงหานโยบายและแนวทางที่เหมาะสมในการคุ้มครองคนทำงานประเภทนี้ต่อไป
การประชุมหารือ เรื่อง กฎหมายคุ้มครองคนทำงานบ้าน ระหว่างกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน และผู้แทน แผนพัฒนาคุณภาพชิวิตแรงงานนอระบบ สสส. มูลนิธิเพื่อนหญิง และเครือข่ายปฏิบัติการเพื่อแรงงานข้ามชาติ ในวันที่ 26 ตุลาคม และ 3 พฤศจิกายน 2552 กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานได้ชี้แจงว่า เนื่องจากลูกจ้างทำงานบ้าน อันมิได้มีการประกอบธุรกิจรวมอยู่ด้วย มีลักษณะงานแตกต่างจากการทำงานของลูกจ้าง ในสถานประกอบกิจการทั่วไป ต้องทำงานให้บริการนายจ้างในบ้าน ที่มีกำหนดเวลาทำงานไม่แน่นอน และส่วนใหญ่พักอาศัยกินอาหารกับนายจ้าง เพื่อให้การจ้างงานประเภทนี้เป็นไปได้ตามความเหมาะสมของสังคมไทย และลูกจ้างไม่ถูกเอารัดเอาเปรียบมากเกินไป สวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน จึงได้ออกกฎกระทรวง (พ.ศ. 2541) ให้ใช้บังคับพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานบางมาตรา กับนายจ้าง ซึ่งลูกจ้างทำงานบ้านอันมิได้มีการประกอบธุรกิจรวมอยู่ด้วย ที่สำคัญ เช่น
1. มาตรา 10 การเรียกหรือรับหลักประกัน บัญญัติห้ามมิให้นายจ้างเรียกหรือรับหลักประกันการทำงาน หรือหลักประกันความเสียหายในการทำงาน ไม่ว่าจะเป็นเงินหรือทรัพย์สินอื่น หรือการค้ำประกันด้วยบุคคลจากลูกจ้าง
2. มาตรา 15 การไม่เลือกปฏิบัติบัญญัติให้นายจ้างปฏิบัติต่อลูกจ้างชายและหญิง โดยเท่าเทียมกันในการทำงาน
3. มาตรา 16 การล่วงเกินทางเพศ บัญญัติมิให้นายจ้าง หัวหน้างาน ผู้ควบคุมงาน หรือผู้ตรวจงานกระทำการล่วงเกิน คุกคาม หรือก่อความเดือดร้อนรำคาญทางเพศต่อลูกจ้าง
4. มาตรา 30 วันหยุดพักผ่อนประจำปี บัญญัติให้ลูกจ้าง ซึ่งทำงานติดต่อกันมาครบหนึ่งปี มีสิทธิหยุดพักผ่อนประจำปีได้ปีหนึ่งไม่น้อยกว่าหกวันทำงาน
5. มาตรา 54 บัญญัติให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างเป็นเงินตราไทย
6. มาตรา 55 บัญญัติให้นายจ้างจ่ายค่าจ้าง ณ สถานที่ทำงานของลูกจ้าง ถ้าจะจ่าย ณ สถานที่อื่นต้องได้รับความยินยอมจากลูกจ้าง
7. มาตรา 70 กำหนดจ่ายค่าจ้างบัญญัติให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างแก่ลูกจ้างตามกำหนดเวลา กรณีที่มีการคำนวณค่าจ้างเป็นรายเดือน รายวัน รายชั่วโมง ให้จ่ายเดือนหนึ่งไม่น้อยกว่าหนึ่งครั้ง
8. มาตรา 123 สิทธิยื่นคำร้อง บัญญัติให้เมื่อมีกรณีที่นายจ้างฝ่าฝืน หรือไม่ปฏิบัติเกี่ยวกับสิทธิได้รับเงิน อย่างหนึ่งอย่างใดตามพระราชบัญญัตินี้ และลูกจ้างมัความประสงค์ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ ดำเนินการตามพระราชบัญญิตนี้ ให้ลูกจ้างมีสิทธิยื่นคำร้อง ต่อพนักงานตรวจแรงงาน
ข้อเสนอ ที่สำนักคุ้มครองแรงงาน เสนอเพิ่มเติมต่อกองนิติการ และอยู่ระหว่างการพิจารณา ได้แก่
(1) ให้นายจ้างจัดให้ลูกจ้างมีวันหยุดประจำสัปดาห์ สัปดาห์หนึ่งไม่น้อยกว่าหนึ่งวันตามมาตรา 28 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2551
(2) ให้นายจ้างประกาศกำหนดวันหยุดตามประเพณีปีหนึ่งไม่น้อยหว่าสามวัน ตามมาตร 29 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541
(3) ให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างให้ลูกจ้างไม่น้อยกว่าอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ ตามมาตรา 90 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 (ฉบับที่3) พ.ศ.2551
เครือข่ายคนทำงานบ้านประเทศไทย อันประกอบด้วย มูลนิธิเพื่อการพัฒนาแรงงานและอาชีพ มูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็ก มูลนิธิผู้หญิง และมูลนิธิเพื่อแรงงานหญิง ได้จัดกิจกรรมประชุมและเดินขบวนเนื่องในวันสิทธิมนุษยชนสากล 10 ธันวาคม 2552 และได้จัดทำแถลงการณ์ ถึงประธานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ, ผู้แทนกระทรวงแรงงาน และองค์การแรงงานระหว่างประเทศ เพื่อเรียกร้องให้ทุกฝ่ายในสังคมตระหนักถึงความสำคัญ ของคนทำงานบ้าน และร่วมกันผลักดันให้เกิดความคุ้มครองทางกฏหมายและการจัดสวัสดิการที่เหมาะสม แก่คนทำงานบ้านในประเทศไทยที่สำคัญ เช่น
1. การได้รับค่าตอบแทนขั้นต่ำที่เป็นธรรม
2. มีวันหยุดอย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 วัน
3. มีโอกาศได้รับการส่งเสริม และพัฒนาทักษะ ได้แก่ การศึกษาต่อ การพัฒนาทักษะความสามารถ
4. กำหนดมาตรฐานขั้นต่ำ ในการดูแลลูกจ้างเด็ก ต้องเป็นไปตามมาตรฐาน ของพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ.2546
5. จัดให้มีการคุ้มครองทางทะเบียนและมีสัญญาจ้างที่เป็นธรรม
ข้อให้เร่งผลักดันให้มีการประกาศใช้กฏกระทรวง คุ้มครองคนทำงานบ้านอย่างเร่งด่วน เพื่อให้ทันวาระที่องค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) จะบรรจุประเด็นว่าด้วยงานที่มีคุณค่า สำหรับลูกจ้างทำงานบ้าน ในการประชุมใหญ่สมัยที่ 99 ปี ค.ศ. 2010 (พ.ศ.2553)
วันที่ 15 ธันวาคม 2552 ผู้แทนเครือข่ายแรงงานนอกระบบ เครือข่ายปฏิบัติการเพื่อแรงงานข้ามชาติ และภาคีที่เกี่ยวข้อง ได้ปรึกษาหารือกับผู้แทนกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานมีข้อเสนอเพิ่มเติม ในร่างกฏกระทรวงคุ้มครองลูกจ้างทำงานบ้าน อันมิได้มีการประกอบธุรกิจรวมอยู่ด้วย ที่กองนิติการ กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานกำลังพิจารณาอยู่ ดังนี้
1. ให้นายจ้างอนุญาตให้ลูกจ้างหยุดงานตามวันหยุดประเพณี และถ้านายจ้างไม่อนุญาตให้หยุดงาน ให้นายจ้างจ้ายเงินค่าจ้าง ในวันหยุดตามประเพณีหรือกรณีที่นายจ้างไม่จ่ายเป็นเงินค่าจ้างวันหยุดประเพณี ให้นายจ้างชดเชยวันหยุดให้ลูกจ้างแทน
2. ให้นายจ้างกับลูกจ้างทำงานบ้านทำสัญญาการจ้างงานกัน ดังนี้
2.1 ในกรณี กำหนดชั่วโมงการทำงาน โดยลูกจ้างซึ่งทำงานบ้านให้นายจ้าง มีลักษณะการทำงานที่มีรูปแบบการทำงานไม่แน่นอนนั้น ให้นายจ้างทำสัญญาการจ้างงานกับลูกจ้าง เป็นลายลักษณ์อักษร
2.2 ให้นายจ้าง ระบุข้อตกลงไว้ในสัญญาจ้างงาน เกี่ยวกับค่ารักษาพยาบาล ในกรณีที่ลูกจ้างเจ็บปวดหรือประสบอุบัติเหตุในการทำงาน
2.3 ให้นายจ้าง ระบุเรื่องการจัดหาที่พักให้กับลูกจ้าง ไว้ในสัญญาการจ้างงาน โดยให้ระบุเป็นสวัสดิการของนายจ้างที่มอบให้แก่ลูกจ้าง
3. ให้ตั้ง คณะกรรมการพัฒนามาตรฐานแรงงานสำหรับคนอาชีพทำงานในบ้าน ระหว่างภาครัฐและภาคประชาสังคม เพื่อเป็นกลไกกำกับติดตามการทำงาน