กฎหมายวิธีพิจารณาคดีแรงงาน
 | การบรรยายฟ้อง ละเมิด กับ ผิดสัญญาจ้าง
ละเมิด กับ ผิดสัญญาจ้าง แท้จริงแล้วไม่เหมือนกัน ทั้งๆที่เกิดขึ้นพร้อมๆกัน ถ้าเช่นนั้น ต่างกันอย่างไร ?
ละเมิด คือ การทำผิดกฎหมาย ส่วนผิดสัญญาจ้าง คือ การทำผิดข้อตกลง การทำผิดข้อตกลงอาจไม่เป็นการทำผิดกฎหมายเสมอไป ส่วนการทำผิดกฎหมายถือเป็นการทำผิดข้อตกลงด้วยเสมอไป ดังนั้น หากฟังว่า ลูกจ้างกระทำละเมิดต่อนายจ้าง ย่อมต้องฟังว่า ลูกจ้างกระทำผิดสัญญาจ้างต่อนายจ้างด้วยเสมอ
|
 | เหตุตามหนังสือเลิกจ้าง กับ การพิจารณาคดี
มีคดีเรื่องหนึ่งนายจ้างต่อสู้คดีว่า เลิกจ้างลูกจ้างไม่มาทำงานเมื่อวันที่ 22 และ 26 มีนาคม 2547 แล้วแก้ไขข้อมูลว่ามาทำงานเป็นเหตุให้นายจ้างต้องจ่ายค่าอาหาร 2 วัน เป็นเงิน 20 บาท เป็นการทุจริต แต่ศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงว่า ลูกจ้างไม่มาทำงานเมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2547 แต่แก้ไขข้อมูลว่ามาทำงานในวันดังกล่าว
|
 | บอกกล่าวล่วงหน้า กับ เลิกจ้างไม่เป็นธรรม
ศาลพิพากษาในประเด็นสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าว่า นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า เนื่องจาก ลูกจ้างบกพร่องต่อหน้าที่โดยไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของนายจ้าง ดังนั้น นายจ้างจึงไม่ต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า แล้วอย่างนี้ ศาลจะพิพากษาในประเด็นเลิกจ้างไม่เป็นธรรม อย่างไร ?
|
 | เกษียณอายุ กับ การเลิกจ้างไม่เป็นธรรม
นายจ้างมักกำหนดในระเบียบให้ลูกจ้างต้องพ้นสภาพการเป็นพนักงานเมื่อมีอายุครบตามที่กำหนด โดยทั่วไปขั้นต่ำก็อยู่ที่ 50 ปี ขั้นสูงอยู่ที่ 60 ปี การพ้นสภาพด้วยเหตุอายุมากแล้วเช่นนี้ถือเป็นการเลิกจ้างเช่นกัน แม้จะเรียกกันโดยคุ้นเคยว่า เกษียณอายุ ก็ตาม |
 | การรับข้อเท็จจริงในศาลแรงงาน
การดำเนินกระบวนพิจารณาในคดีแพ่งนั้น อาจเป็นไปได้ที่ศาลจะใช้วิธีให้คู่ความรับข้อเท็จจริงต่อกัน หากศาลเห็นว่า ข้อเท็จจริงเพียงพอต่อการวินิจฉัยคดีแล้วศาลจะสั่งงดสืบพยานหรือคู่ความอาจแถลงงดสืบพยานก็ได้แล้วให้ศาลชี้ขาดคดีไปตามข้อเท็จจริงที่รับกัน
|
|