ReadyPlanet.com
dot dot
dot
dot
bulletขอเลิกจ้างกรรมการลูกจ้างโดยไม่จ่าย ค่าชดเชย
bulletเลิกจ้างนอกข้อยกเว้น มาตรา 123
bulletลงชื่อสนับสนุนข้อเรียกร้อง
bulletข้อตกลงที่สิ้นผลผูกพัน
bulletห้ามทำสัญญาจ้างฯขัดข้อตกลงสภาพการจ้าง
dot
dot
bulletคำวินิจฉัยของศาลที่ไม่มีเหตุผลประกอบ
bulletการปฏิบัติตามคำพิพากษา
dot
dot
bulletสิทธิในการเรียกค่าขาดไร้อุปการะ
bullet“บุตร” หมายความว่าอย่างไร ?
bulletไม่ถือว่าได้รับความเดือดร้อน
dot
dot
bulletหนังสือเตือนไม่ใช่โทษ
bulletประมาทเลินเล่อ
bulletไม่ผิดยักยอกแต่เลิกจ้างเป็นธรรม
bulletปิดกิจการชั่วคราว
bulletความหมายของคำว่า “ผู้บังคับบัญชา”
bulletทำงานแต่ละทิ้งหน้าที่
bulletต้องเลือกใช้สิทธิ
bulletการระบุเหตุผลในหนังสือบอกเลิกจ้าง
bulletการใช้สิทธิร้องพนักงานตรวจแรงงานและคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์พร้อมกัน
bulletการสละสิทธิไม่รับเงินประกัน
dot
dot
bulletฟ้องตัวแทนหางานในประเทศไทย
bulletฟ้องละเมิด
dot
dot
bulletจัดหางานไม่ได้รับอนุญาต
dot
dot
bulletประกาศคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจที่เป็นคุณต่อลูกจ้างแต่ออกภายหลังที่ลูกจ้างเกษียณอายุไปแล้ว
dot
dot
bulletศาลฎีกา
bulletศาลอุทธรณ์
bulletศาลแพ่ง
bulletศาลแพ่งกรุงเทพใต้
bulletศาลอาญา
bulletศาลแพ่งธนบุรี
bulletศาลแรงงานกลาง
bulletศาลล้มละลายกลาง
dot

dot
dot
dot
bulletกระทรวงแรงงาน
bulletกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
bulletกรมการจัดหางาน
bulletกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
bulletสำนักงานประกันสังคม
bulletสถาบันความปลอดภัยในการทำงาน
bulletศูนย์บริการข้อมูลและฝึกอบรมแรงงาน
bulletสมาคมส่งเสริมความปลอดภัยและอนามัยในการทำงาน
bulletสำนักงานบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ
dot
dot
bulletบุษบาผู้น่าสงสาร
bulletขนมดังโกะ
bulletฤกษ์สึก
dot
dot
bulletอัตราค่าจ้างขั้นต่ำรายชั่วโมง
bulletอัตราค่าจ้างขั้นต่ำใหม่ ซึ่งได้ประกาศให้มีผลใช้บังคับ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2550
bulletแนวทางในการส่งเสริมให้นักเรียน นิสิต และนักศึกษาเข้าทำงานในช่วงปิดภาคเรียนหรือภาคฤดูร้อน
bulletหลัก 7 ประการในการบริหารแรงงาน
bullet สาระสำคัญพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518
bulletหญิงไทยกับกฎหมายแรงงานใหม่
bullet10 เคล็ดลับ เพื่อผูกใจพนักงานไว้กับองค์กร
bulletร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.........
bulletร่างพ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ ฉบับคณะกรรมการกฤษฎีกา
bulletร่างพระราชบัญญัติค่าจ้างและรายได้
dot
dot
bulletโครงการรณรงค์เพื่อแรงงานไทย
bulletไทยเซฟตี้ดอทเน็ต
bulletสภาทนายความ
bulletทนายป๊อดดอทคอม
bulletสำนักกฎหมายทัศน์พงษ์ สกุลคู
bulletไทยจัสติสดอทคอม
bulletอาจารย์กฤษฎ์ อุทัยรัตน์
bulletThaiJobCenter.com
dot
dot
bulletตัวอย่างวารสารกฎหมายแรงงานเดือนเมษายน 2550
bulletตัวอย่างวารสารกฎหมายแรงงานเดือนพฤษภาคม 2550
dot
dot
bulletพุทธธรรมที่ควรนำมาใช้ในการบริหารจัดการ ตอนที่ 3 หลักการพัฒนาตนเองให้เป็นพหูสูต
bulletพุทธธรรมที่ควรนำมาใช้ในการบริหารจัดการ ตอนที่ 2 เทคนิคการปกครองคน 3 รูปแบบ
bulletพุทธธรรมที่ควรนำมาใช้ในการบริหารจัดการ ตอนที่ 1
bulletเคล็ดลับ 12 ประการในการสร้างมนุษยสัมพันธ์ที่ดี ( 12 Tips for Building Good Human Relations)
bulletผู้นำที่ดีควรมีคุณสมบัติอย่างไร
bulletฝ่ายบุคคลมือใหม่กับยายจำปีสุดแสบ ตอนที่...2
bulletฝ่ายบุคคลมือใหม่กับยายจำปีสุดแสบ
bulletเรื่องของ ค คน โดยจามจุรีสีชมพู
bulletสิทธิและหน้าที่ของนายจ้างและลูกจ้าง


ประชาสัมพันธ์ Add Url ฟรี!


ห้องเรียน กฎหมายแรงงาน
            กฎหมายคุ้มครองแรงงาน มาตรา 11/1 กำหนดให้ผู้ประกอบกิจการที่มอบให้บุคคลใดเป็นผู้จัดหาคนมาทำงานอันมิใช่การประกอบธุรกิจจัดหางาน โดยการทำงานนั้นเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการผลิตหรือธุรกิจในความรับผิดชอบของผู้ประกอบกิจการ และโดยบุคคลนั้นจะเป็นผู้ควบคุมดูแลการทำงานหรือรับผิดชอบในการจ่ายค่าจ้างให้แก่คนที่มาทำงานนั้นหรือไม่ก็ตาม ให้ถือว่าผู้ประกอบกิจการเป็นนายจ้างของคนที่มาทำงานดังกล่าว ด้วยความที่ถือว่าผู้ประกอบกิจการเป็นนายจ้างจึงมีคำถามเกิดขึ้นมากมาย หนึ่งในนั้นก็คือ จะนับอายุงานเพื่อจ่ายค่าชดเชยอย่างไร ?


ไม่ติดใจลงโทษarticle

 

ไม่ติดใจลงโทษ
ลูกจ้างขับรถรับนักท่องเที่ยว กับ ค่าจ้างในวันหยุดพักผ่อนประจำปีarticle

 

ลูกจ้างขับรถรับนักท่องเที่ยว กับ ค่าจ้างในวันหยุดพักผ่อนประจำปี
ไม่คาดเข็มขัดนิรภัย กับ การเลิกจ้างarticle

 

    นายจ้างมีระเบียบกำหนดไว้ว่า ลูกจ้างที่มีหน้าที่ขับรถต้องคาดเข็มขัดนิรภัยขณะขับรถ มิเช่นนั้นอาจถูกเลิกจ้างได้
 
            อ่านระเบียบนายจ้างตรงนี้แล้วสองจิตสองใจ ?
 
ใจหนึ่งก็รู้สึกว่า เหมาะสมแล้ว เพราะเข็มขัดนิรภัยให้ความปลอดภัยต่อชีวิตลูกจ้าง และยังให้ความปลอดภัยต่อชีวิตลูกเมียของลูกจ้างด้วย เพราะหากลูกจ้างไม่คาดเข็มขัดนิรภัยวันใด  วันนั้น ชีวิตลูกเมียของลูกจ้างย่อมไม่ปลอดภัยไปด้วย ด้วยไม่รู้ว่าจะเกิดอุบัติเหตุจนทำให้ลูกจ้างต้องเสียชีวิต หรือพิกลพิการหรือไม่ ?  หากวันนั้นมาถึง ค่าเทอมลูกจะทำอย่างไร ? ค่าเช่าบ้านที่ค้างเขาละจะทำอย่างไร ? ปัญหาสารพัดจะติดตามมา ยังไม่นับความรู้สึกทางจิตใจที่แม่ลูกต้องเผชิญชีวิตตามลำพัง
 
อีกใจหนึ่งก็รู้สึกว่า รุนแรงไปหรือเปล่า อุบัติเหตุเกิดจากความประมาท เมื่อไม่ประมาทเสียอย่าง แม้ไม่คาดเข็มขัดนิริภัยก็ไม่เป็นไร ถ้ามีใครแย้งว่า  ถ้าฝ่ายตรงข้ามประมาท ขับรถเสยหน้ารถเรา ถ้าเราไม่คาด เข็มขัดนิรภัยไม่ตายหรือ ? ก็คงตอบว่า หากเป็นเช่นนั้น ก็คงเป็นเวรกรรมที่ทำมาแต่ชาติปางก่อน
 
สรุปแล้วไม่รู้จะตัดสินใจอย่างไรดี ?
 
มีคดีเรื่องหนึ่ง นายจ้างขอเลิกจ้างกรรมการลูกจ้างซึ่งเป็นพนักงานขับรถบรรทุกตู้คอนเทนเนอร์ด้วยเหตุลูกจ้างขับรถไม่คาดเข็มขัดนิรภัยแล้วเกิดอุบัติเหตุรถตกถนนรถเสียหายประมาณหนึ่งล้านบาท ลูกจ้างซึ่งเป็นคนขับหัวแตก พนักงานขับรถอีกคนหนึ่งที่ไปด้วยได้รับบาดเจ็บสาหัสเพราะนอนหลับอยู่แล้วหล่นจากเบาะและถูกลูกจ้างซึ่งเป็นคนขับหล่นมาทับอีก
 
หากคาดเข็มขัดนิรภัยคงไม่หล่นมาทับเพื่อน เพื่อนคงไม่ถึงสาหัส ?
 
คดีนั้น ศาลฎีกาอนุญาตให้เลิกจ้างกรรมการลูกจ้างได้ ด้วยศาลเห็นว่า การที่ลูกจ้างไม่คาดเข็มขัดนิรภัยนอกจากจะเป็นการฝ่าฝืนกฎระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานแล้วยังเป็นการฝ่าฝืนกฎหมายที่กำหนดขึ้นเพื่อความปลอดภัยแก่ตัวผู้ขับรถยนต์เองและสามารถปฏิบัติได้อย่างง่ายดาย การละเลยฝ่าฝืนจึงเป็นความผิดร้ายแรง ทั้งผลที่เกิดจากการไม่คาดเข็มขัดนิรภัยเมื่อเกิดอุบัติเหตุลูกจ้างจึงหล่นจากที่นั่งมาทับเพื่อนร่วมงาน เป็นเหตุให้เพื่อนร่วมงานได้รับบาดเจ็บสาหัส ผลที่เกิดขึ้นนี้เป็นเหตุที่นายจ้างเลิกจ้างได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย จึงอนุญาตให้เลิกจ้างได้ตามที่ร้องขอ
 
ซึ่งคำวินิจฉัยของศาลฎีกาชอบแล้ว แต่ด้วยเหตุที่คดีที่ยกตัวอย่างนี้มีผลข้างเคียงหลายประการ คือ 1 รถยนต์นายจ้างเสียหายเป็นเงินถึงหนึ่งล้านบาท 2 เพื่อนร่วมงานบาดเจ็บสาหัส ไม่ว่า การไม่คาดเข็มขัดนิรภัยจะเป็นความผิดกรณีร้ายแรงหรือไม่ก็ตาม ก็มีเหตุอันสมควรอยู่ที่นายจ้างจะเลิกจ้างลูกจ้างรายนี้ได้โดยชอบ
 
มีคำถามว่า หากลูกจ้างรายนี้ขับรถโดยไม่คาดเข็มขัดนิรภัย แต่สามารถรอดปลอดภัยกลับมาหานายจ้างได้ตามปกติ กรณีอย่างนี้ นายจ้างจะขอเลิกจ้างลูกจ้างซึ่งเป็นกรรมการลูกจ้างด้วยเหตุที่ว่า การไม่คาดเข็มขัดนิรภัยเป็นความผิดต่อระเบียบกรณีร้ายแรง อย่างนี้ ศาลจะอนุญาตหรือไม่ ?
 
หากพิจารณาจากเนื้อหาคำวินิจฉัยของศาลฎีกาที่ว่า การไม่คาดเข็มขัดนิรภัยเป็นการฝ่าฝืนระเบียบกรณีร้ายแรง หากเป็นเช่นนี้ ไม่ว่าผลของการไม่คาดเข็มขัดนิรภัยจะเป็นประการใดก็ตาม นายจ้างย่อมเลิกจ้างได้โดยชอบแล้วไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยอีกต่างหาก
 
 จะเป็นเช่นนี้จริงหรือ ?
 
  สองจิตสองใจอีกแล้ว ?
 
                           .......................................................... สมบัติ ลีกัล 29 สค 52
เงินที่ติดตัวลูกจ้างไปเมื่อย้ายตำแหน่ง พิจารณาอย่างไร ?article

             นายจ้างมีสิทธิย้ายลูกจ้างไปทำงานในตำแหน่งใดก็ได้ตามที่เห็นสมควร หากตำแหน่งนั้นไม่ต่ำไปกว่าเดิม โดยถือเป็นอำนาจบริหารของนายจ้าง ลูกจ้างต้องปฏิบัติตาม

 
ที่ว่าลูกจ้างต้องปฏิบัติตามนั้น รับได้ แต่ที่ย้ายตำแหน่งแล้วเงินบางรายการที่ลูกจ้างเคยได้รับอยู่ขณะทำงานในตำแหน่งเดิมมีอันต้องหายไป ตรงนี้ซิรับไม่ได้ จะให้ทำอย่างไร ?
 
หากเงินที่หายไปนั้นเป็นไปโดยชอบด้วยกฎหมายก็ไม่เป็นไร จะรับ ?
 
ถ้าเช่นนั้น มาดูกันว่า มีหลักการพิจารณาอย่างไร ?
 
ในเบื้องต้น ขอให้ตั้งหลักไว้ก่อนว่า เงินที่หายนั้นเป็นค่าจ้างหรือไม่ หากเป็นค่าจ้างย่อมติดตัวลูกจ้างไปตลอดไม่ว่าลูกจ้างจะอยู่แห่งหนตำบลใด หรืออยู่ในตำแหน่งใดก็ตาม หากไม่ใช่ย่อมไม่ติดตัวไป
 
แล้วจะดูอย่างไรว่าเงินนั้นเป็นค่าจ้างหรือไม่ ?
 
ตรงนี้ต้องหัดดูบ่อยๆ จึงจะชำนาญ แต่มีหลักในการช่วยดู คือ เงินนั้นต้องเป็นเงินที่จ่ายเพื่อตอบแทนการทำงานในเวลาทำงานปกติเท่านั้น
 
 ในทางปฏิบัติมักจ่ายเป็นจำนวนแน่นอนและจ่ายเป็นประจำสม่ำเสมอ หากหน้าตาออกมาประมาณนี้ก็ให้ทายไว้ก่อนว่า เป็นค่าจ้าง เช่น เงินประจำตำแหน่ง
 
 หากเงินนั้นจ่ายตามความจำเป็นตามลักษณะงานในตำแหน่งนั้นๆ กรณีอย่างนี้ไม่ถือเป็นค่าจ้าง ย่อมไม่ติดตัวลูกจ้างไป เมื่อลูกจ้างย้ายตำแหน่งเดิมย่อมหมดสิทธิได้รับเงินดังกล่าว เช่น เงินที่จ่ายเป็นค่าถือใบอนุญาตนายช่างอากาศยานและค่าลงนามรับรองสมควรเดินอากาศซึ่งผู้ที่มีสิทธิได้รับเงินตรงนี้ต้องมีคุณสมบัติครบถ้วนและผ่านการฝึกอบรม ทดสอบความรู้ความสามารถตามระเบียบฝ่ายช่าง รวมทั้งเงินที่จ่ายเป็นค่าอาหารให้กับพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินซึ่งจ่ายตามจำนวนมื้ออาหารที่เกิดขึ้นจริงและจ่ายตามราคาค่าครองชีพในแต่ละประเทศที่พนักงานต้องพักตามความเป็นจริง 
 
         ................................................ สมบัติ ลีกัล 29 สค 52
หยุดงานไปพบนิติกรที่ศาล กับ การละทิ้งหน้าที่article

 

ลูกจ้างมีปัญหาขัดแย้งกับนายจ้างเกี่ยวกับการทำงาน จำเป็นต้องไปศาลเพื่อปรึกษานิติกรเกี่ยวกับการฟ้องนายจ้างเรียกร้องให้ปฏิบัติตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง ครั้นจะขอลางานไปศาลเข้าใจว่านายจ้างคงไม่อนุญาต อย่างกระนั้นเลย หยุดงานไปเสียเฉยๆดีกว่า วันรุ่งขึ้นค่อยลาป่วย ปรากฏว่านายจ้างรู้ทัน เมื่อลูกจ้างยื่นใบลาป่วยจึงไม่อนุญาต และให้ถือว่า ละทิ้งหน้าที่ จึงเลิกจ้างเสียเลย
 
ลูกจ้างสงสัยว่า ไปพบนิติกรที่ศาลเป็นการละทิ้งหน้าที่จริงหรือ ?
 
เรื่องนี้น่าเห็นใจลูกจ้างอยู่เหมือนกัน ที่ลูกจ้างอ้างว่า หากยื่นใบลากิจต่อนายจ้างขอไปพบนิติกรที่ศาลเพื่อปรึกษาเรื่องฟ้องคดีนายจ้าง นายจ้างคงจะไม่ใจดีพอที่จะอนุญาตดอก ซึ่งก็พอฟังได้เหมือนกันแต่นั้นเป็นเพียงการคาดการณ์ของลูกจ้างฝ่ายเดียว ซึ่งอาจไม่เป็นอย่างลูกจ้างคิดก็ได้ ทำไมไม่ลองดูเสียก่อน เมื่อไม่ลองดูแล้วหยุดงานไปโดยไม่ปฏิบัติตามระเบียบว่าด้วยการลา จะเป็นอื่นใดไปไม่ได้นอกจากการละทิ้งหน้าที่ นายจ้างเลิกจ้างด้วยเหตุละทิ้งหน้าที่จึงไม่ต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า
 

               ................................................. สมบัติ ลีกัล 31 กรกฏาคม 2552

หยุดงานไปพบนิติกรที่ศาล กับ การเลิกจ้างไม่เป็นธรรมarticle

 

            ลูกจ้างหยุดงานไปพบนิติกรที่ศาลเพื่อปรึกษาเรื่องการฟ้องนายจ้างโดยมิได้แจ้งขอลากิจเสียให้ถูกต้องตามระเบียบ ครั้นวันรุ่งขึ้นไปยื่นใบลาป่วย นายจ้างรู้ทันว่าไม่ได้ป่วยจริง มีคนเห็นว่าไปที่ศาลนั่งคุยอยู่กับนิติกรท่าทางแข็งแรงดี เลยไม่อนุญาตให้ลาป่วยแล้วยังแถมข้อหาละทิ้งหน้าที่และเลิกจ้างโดยไม่จ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าอีกต่างหาก ซึ่งคำตอบก็รู้แล้วว่า นายจ้างทำได้โดยชอบด้วยกฎหมาย
 
            ลูกจ้างถามว่า ระเบียบบอกว่า ละทิ้งหน้าที่วันเดียวโทษไม่ถึงเลิกจ้าง แล้วอย่างนี้ถือเป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมหรือไม่ ?
 
              นายจ้างบอกว่า ในเมื่อเลิกจ้างได้โดยไม่ต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าถูกต้องตามที่กฎหมายกำหนดแล้วอย่างนี้จะเป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมได้อย่างไร ?
 
            มีเหตุผลทั้งคู่ การกระทำของลูกจ้างถือเป็นการละทิ้งหน้าที่ นายจ้างมีสิทธิเลิกจ้างได้โดยไม่ต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าตามกฎหมาย แต่การเลิกจ้างเพราะละทิ้งหน้าที่ใช่ว่าจะต้องเป็นการเลิกจ้างที่เป็นธรรมเสมอไป
 
            เรื่องนี้เถียงกันถึงศาลฎีกา ในที่สุด ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ระเบียบมิได้กำหนดให้การขาดงาน 1 วัน มีโทษถึงขั้นเลิกจ้าง การเลิกจ้างด้วยเหตุนี้จึงเป็นการเลิกจ้างที่ไม่มีเหตุอันสมควร เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม นายจ้างต้องจ่ายค่าเสียหายให้ลูกจ้าง
 
            การเลิกจ้างที่ไม่ต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าจึงมิใช่เครื่องรับรองความปลอดภัยให้นายจ้างว่าจะรอดพ้นจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม
 
            การละทิ้งหน้าที่ไปศาลเพื่อปรึกษานิติกรเป็นการผิดระเบียบของนายจ้างก็จริงอยู่ แต่ก็ต้องถือว่ามีเหตุอันสมควร ใจคอนายจ้างจะให้ศาลพิพากษาว่าการไปพบนิติกรที่ศาลสมควรแล้วที่ต้องถูกเลิกจ้างอย่างนั้นเชียวหรือ ?
 
                                     .................................... สมบัติ ลีกัล 31 กรกฏาคม 2552
จ่ายค่าจ้างสัปดาห์ละครั้ง กับ ลูกจ้างทดลองงาน

 

 
            สำหรับลูกจ้างประจำ ระเบียบกำหนดให้จ่ายค่าจ้างเดือนละครั้ง เมื่อใดจะเลิกจ้างต้องบอกกล่าวล่วงหน้าไม่น้อยกว่าหนึ่งงวดการจ่ายค่าจ้าง ซึ่งก็ไม่น้อยกว่าหนึ่งเดือนแน่นอน หากไม่บอกกล่าวล่วงหน้าก็ต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าซึ่งก็ไม่น้อยกว่าหนึ่งเดือนอีกเช่นกัน หากบอกผิดจังหวะก็ปาเข้าไปตั้งเกือบสองเดือน ซึ่งนับว่ามากเอาการอยู่ แต่ไม่เป็นไร อย่างไรก็ตาม ลูกจ้างประจำผ่านการทดสอบฝีมือการทำงานมาแล้ว นิสัยใจคอก็พอจะรู้กัน โอกาสจะเลิกจ้างถึงมีแต่ก็ไม่มากนัก ผิดกับลูกจ้างทดลองงานที่เพิ่งเข้ามาทำงานใหม่ ฝีมือยังไม่เห็น นิสัยยังดูไม่ออก โอกาสที่จะไม่ผ่านทดลองงานก็มีมาก หากต้องเลิกจ้างแล้วจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าเหมือนกับลูกจ้างประจำรู้สึกว่ามากไป น่าเสียดาย แล้วอย่างนี้จะแก้ไขอย่างไร ?
 
            อย่ากระนั้นเลย ทำสัญญากับลูกจ้างทดลองงาน ขอจ่ายค่าจ้างสัปดาห์ละครั้ง หากผลงานไม่ผ่านเมื่อเลิกจ้างจะได้บอกล่วงหน้าแค่สัปดาห์เดียวหรือเต็มที่ก็ไม่ถึงสองสัปดาห์ ประหยัดค่าบอกกล่าวล่วงหน้ามากพอสมควร โดยเฉพาะพวกเงินเดือนแพงๆช่วยได้เยอะเหมือนกัน อย่างนี้ทำได้หรือไม่ ?
 
            จะทำได้หรือ ? ในเมื่อลูกจ้างประจำจ่ายค่าจ้างเดือนละครั้ง พอลูกจ้างทดลองงานจะจ่ายสัปดาห์ละครั้ง หากเป็นเช่นนี้ย่อมไม่เป็นคุณต่อลูกจ้างเข้าใหม่ แล้วขัดต่อระเบียบการทำงาน สัญญาอย่างนี้ไม่น่าทำได้ ?
 
            ไม่เป็นคุณต่อลูกจ้างเข้าใหม่นะใช่ ขัดต่อระเบียบการทำงานก็ใช่อีก แล้วสัญญาอย่างนี้ทำได้หรือ คำตอบ คือ ทำได้ เพราะระเบียบการทำงานเป็นสภาพการจ้างที่นายจ้างออกฝ่ายเดียว มิใช่ข้อตกลงระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างที่เกิดจากการยื่นข้อเรียกร้อง นายจ้างย่อมทำสัญญากับลูกจ้างเข้าใหม่ให้ขัดหรือแย้งกับระเบียบได้โดยชอบ
 
            เมื่อเสียดายค่าบอกกล่าวล่วงหน้าก็ต้องขยันจ่ายค่าจ้างบ่อยหน่อย ฝ่ายบุคคลย่อมเห็นด้วยกับวิธีนี้ เอาแล้วฝ่ายบัญชีละว่าอย่างไร ?
 
                                ....................................................... สมบัติ ลีกัล 31 กรกฎาคม 2552
ขอเลิกจ้างกรรมการลูกจ้าง กับ ค่าชดเชยarticle
การปฏิเสธที่จะต่อสัญญา กับ ปัญหาการจ่ายค่าชดเชย

 

การปฏิเสธที่จะต่อสัญญา กับ ปัญหาการจ่ายค่าชดเชย
 
            สัญญาจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างแน่นอน เมื่อถึงเวลาที่กำหนดสัญญาย่อมสิ้นสุดลงโดยไม่จำต้องบอกกล่าวล่วงหน้า การสิ้นสุดของสัญญาเช่นนี้ถือเป็นการเลิกจ้าง นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชย
 
            ปัญหามีอยู่ว่า ก่อนสิ้นสุดสัญญาจ้าง นายจ้างประสงค์จะต่อสัญญาแต่ลูกจ้างไม่ประสงค์จะต่อสัญญา กรณีอย่างนี้ ถือเป็นการเลิกจ้างหรือไม่ ? นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยหรือไม่ ?
 
            ฝ่ายที่หนึ่ง เห็นว่า ลูกจ้างมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามสัญญาเดิมให้ถูกต้องครบถ้วนเท่านั้น เมื่อลูกจ้างทำงานจนถึงวันสุดท้ายของสัญญา สัญญาย่อมสิ้นสุดลงตามข้อตกลง การที่นายจ้างประสงค์จะให้ลูกจ้างทำงานต่อไปโดยลูกจ้างไม่สมัครใจยินยอมย่อมไม่ก่อให้เกิดสัญญาจ้างแรงงานฉบับใหม่ เมื่อสัญญาจ้างฉบับเดิมสิ้นสุดลงและไม่มีสัญญาจ้างฉบับใหม่ กรณีจึงถือเป็นการเลิกจ้าง นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชย
 
            อีกฝ่ายที่สอง เห็นว่า แม้สัญญาจ้างเดิมจะสิ้นสุดลงตามข้อตกลงในสัญญาแล้วก็ตาม แต่นายจ้างยังคงให้ลูกจ้างทำงานต่อไป แต่ลูกจ้างต่างหากที่เป็นฝ่ายปฏิเสธที่จะทำงาน กรณีจึงไม่ครบองค์ประกอบของคำว่าเลิกจ้างตามมาตรา 118 การสิ้นสุดสัญญาจ้างเดิมจึงไม่ก่อให้เกิดสิทธิในค่าชดเชยแก่ลูกจ้าง
           
            ทั้งสองฝ่ายแปลความหมาย คำว่า เลิกจ้าง ต่างกัน ท่านเลือกที่จะเห็นด้วยกับฝ่ายใด ลองถามใจตัวเองดู อ้อ ลืมบอกไป ศาลฎีกาเห็นด้วยกับฝ่ายที่สอง ดูสิ เลือกฝ่ายที่สองกันใหญ่เลย
 
                  ........................................................ สมบัติ ลีกัล 30 พฤษภาคม 2552
วันเลิกจ้าง กับ การจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าarticle

 

วันเลิกจ้าง กับ การจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า
 
            เมื่อเลิกจ้างโดยไม่บอกล่วงหน้าก็ต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าไม่น้อยกว่าหนึ่งงวดการจ่ายค่าจ้าง ตรงนี้ใครๆก็รู้
 
            ปัญหามีอยู่ว่า หนึ่งงวดการจ่ายค่าจ้างนับอย่างไร ในเมื่อระเบียบกำหนดให้จ่ายค่าจ้างทุกวันสิ้นเดือน แต่ในทางปฏิบัตินายจ้างจ่ายค่าจ้างก่อนสิ้นเดือนหนึ่งวันมาโดยตลอด จะถือวันใดเป็นวันเริ่มต้นในการนับ ?
 
            ถ้าบังเอิญ นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างในวันสุดท้ายของเดือน ถ้านับวันสุดท้ายของเดือนเป็นวันจ่ายค่าจ้าง หนึ่งงวดค่าจ้างย่อมครบในวันสุดท้ายของเดือนถัดไป แต่ถ้านับก่อนวันสุดท้ายของเดือนเป็นวันจ่ายค่าจ้าง หนึ่งงวดค่าจ้างย่อมครบในก่อนวันสุดท้ายของอีกเกือบสองเดือนถัดไป เห็นไหม ต่างกันราวน้องฟ้ากับพี่บอล
 
            แล้วที่ถูกต้อง คือ วันใด ?
 
            กรณีที่จ่ายค่าจ้างไม่ตรงกับวันที่กำหนดไว้ในระเบียบ และเป็นการจ่ายมาโดยตลอดอย่างสม่ำเสมอเช่นนี้ ศาลฎีกาถือวันที่จ่ายค่าจ้างจริงเป็นเกณฑ์
 
                    ........................................................... สมบัติ ลีกัล 30 พฤษภาคม 2552
จงใจให้ตนเองประสบอันตราย กับ สิทธิการได้รับเงินทดแทนarticle

จงใจให้ตนเองประสบอันตราย กับ สิทธิการได้รับเงินทดแทน

 

            กฎหมายกำหนดให้นายจ้างต้องจ่ายเงินทดแทนกรณีลูกจ้างประสบอันตรายเนื่องจากการทำงาน ยกเว้น การประสบอันตรายนั้นเกิดขึ้น เนื่องจาก ลูกจ้างจงใจให้ตนเองประสบอันตราย กรณีอย่างนี้นายจ้างไม่ต้องจ่ายเงินทดแทน

 

            อย่างไรที่เรียกว่า จงใจให้ตนเองประสบอันตราย ?

 

            มีคดีเรื่องหนึ่ง ลูกจ้างเป็นไต้ก๋งเรือประมง มีอำนาจสั่งให้นำเรือไปจับปลาที่บริเวณใดก็ได้ตามแต่จะเห็นสมควร ด้วยความที่อยากได้ปลา ลูกจ้างจึงสั่งให้นำเรือเข้าไปจับปลาในน่านน้ำกัมพูชา ปรากฏว่า เที่ยวนี้โชคไม่ดี ถูกเรือไม่ปรากฏสัญชาติไล่ยิงเรือเสียหาย ไต้ก๋งเสียชีวิต

 

มีคำถามว่า ไต้ก๋งมีสิทธิได้รับเงินทดแทนหรือไม่ ?

 

ฝ่ายที่เห็นว่าไม่มีสิทธิอ้างว่า การนำเรือเข้าไปจับปลาในน่านน้ำประเทศกัมพูชานั้น ถือเป็นการจงใจให้ตนเองได้รับอันตราย ทำนองว่า รู้ทั้งรู้ว่า การเข้าไปจับปลาในเขตน่านน้ำคนอื่นมันผิดกฎหมาย การถูกไล่ยิงย่อมเกิดขึ้นได้ แล้วไปทำไม เห็นไหม ตายเลย

 

การเข้าไปจับปลาในน่านน้ำคนอื่นนั้นไม่ถูกต้องตามกฎหมายก็จริงอยู่ แต่ใช่ว่าการเข้าไปจะถูกยิงเสมอไป ข้อเท็จจริงในคดีปรากฏว่า เรือที่เข้าไปบางลำก็ถูกยิง บางลำก็ไม่ถูกยิง การที่ลูกจ้างถึงแก่ความตายเพราะถูกยิงจึงมิใช่การเล็งเห็นผลว่า การเข้าไปเช่นนี้จะต้องถูกยิงหรือน่าจะถูกยิงได้รับอันตรายโดยแน่แท้ กรณีจึงมิใช่การจงใจให้ตนเองประสบอันตราย ลูกจ้างจึงมีสิทธิได้รับเงินทดแทน

 

เอาน่า ลูกจ้างเข้าไปในน่านน้ำเพื่อนบ้านเพื่อจับปลาก็เพื่อประโยชน์ของนายจ้างนั่นเอง ปลาที่จับได้มาก็ไม่เห็นปฏิเสธ เมื่อถึงคราวเคราะห์ของลูกจ้างก็ช่วยๆกันหน่อย    

 

                  …………………………………………..  สมบัติ ลีกัล 30 พฤษภาคม 2552

 

เหตุเลิกจ้าง กับ การไม่จ่ายค่าชดเชยarticle

 กฎหมายบอกว่า หากจะเลิกจ้างต้องระบุเหตุผลไว้ในหนังสือบอกเลิกจ้างด้วย มิเช่นนั้น นายจ้างจะยกเหตุตามมาตรา 119 ขึ้นอ้างภายหลังไม่ได้ เหตุตามมาตรา 119 ก็คือ เหตุที่เป็นข้อยกเว้นไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย ซึ่งก็คือ ลูกจ้างกระทำผิดอาญาโดยเจตนาต่อนายจ้าง จงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย ฝ่าฝืนระเบียบโดยเตือนเป็นหนังสือแล้ว หรือกรณีร้ายแรงไม่ต้องเตือนเป็นหนังสือ ประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้นายจ้างได้รับความเสียหายร้ายแรง ละทิ้งหน้าที่ 3 วันทำงานโดยไม่มีเหตุอันควร ได้รับโทษจำคุดตามคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก มีแค่นี้เท่านั้น

ลืม กับ การฝ่าฝืนระเบียบกรณีร้ายแรงarticle

  ลืม ใครๆก็ลืมกันได้ แค่นี้ต้องเลิกจ้างด้วยหรือ แถมไม่จ่ายค่าชดเชยอีกต่างหาก มันร้ายแรงขนาดนั้นเชียวหรือ ?

หลักประกันการทำงาน กับ กรมธรรม์ประกันความซื่อสัตย์ของลูกจ้าง

หลักประกันการทำงาน กับ กรมธรรม์ประกันความซื่อสัตย์ของลูกจ้าง      

 

ข้อเท็จจริงที่ไม่ปรากฏในระเบียบ กับ การลงโทษทางวินัยarticle

 ข้อเท็จจริงที่ไม่ปรากฏในระเบียบ กับ การลงโทษทางวินัย

ผู้เขียนเคยได้รับคำถามว่า ลูกจ้างดื่มสุราจากนอกโรงงานในเวลาพักเมื่อกลับเข้าทำงานมีกลิ่นสุราและอาการเมาปรากฏอยู่ ต้องการลงโทษทางวินัย แต่พอเปิดระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานดูกลับไม่ปรากฏว่าการดื่มสุราในเวลาพักนอกโรงงานเป็นความผิด คงมีเพียงการดื่มสุราภายในโรงงานเท่านั้นที่เป็นความผิด ถ้าอย่างนี้แล้วจะลงโทษลูกจ้างได้อย่างไร ?

หน้า 3/8
[ก่อนหน้า]   1 2 3 4 5 6 7 8  [ถัดไป]
[Go to top]



Copyright © 2010 All Rights Reserved.