กฎหมายวิธีพิจารณาคดีแรงงาน
 | การแก้ฟ้องในคดีแรงงาน
ในคดีแพ่งนั้น หากโจทก์ประสงค์จะแก้ฟ้องต้องกระทำก่อนวันชี้สองสถานหรือก่อนวันสืบพยานไม่น้อยกว่า 7 วัน ในกรณีที่ไม่มีการชี้สองสถาน หากโจทก์ปฏิบัติตามกติกานี้ โจทก์ย่อมมีสิทธิแก้ฟ้องได้โดยชอบ
|
 | เหตุเลิกจ้างที่ไม่ปรากฏในหนังสือเลิกจ้าง กับ การพิจารณาของ ครส. และศาล
ในกรณีที่นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างโดยยอมจ่ายค่าชดเชยนั้น ในการต่อสู้คดีในศาลในข้อหาเลิกจ้างไม่เป็นธรรมรวมทั้งการต่อสู้คดีที่คณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ในข้อหาการกระทำอันไม่เป็นธรรมนั้นไม่มีกฎหมายห้ามมิให้นายจ้างยกเหตุอื่นที่ไม่ปรากฏในหนังสือเลิกจ้างขึ้นมาต่อสู้ ในทางปฏิบัติศาลเองก็พอจะฟังเหตุเลิกจ้างที่ไม่ปรากฏในหนังสือเลิกจ้างบ้างเหมือนกัน แต่กับคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์มักไม่ฟังเหตุที่ไม่ปรากฏในหนังสือเลิกจ้างด้วยเห็นว่า มิใช่เหตุเลิกจ้างที่แท้จริง |
 | ข้อกฎหมายที่ไม่เป็นสาระแก่การพิจารณาของศาลฎีกา
มีคดีเรื่องหนึ่ง ศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงว่า ลูกจ้างกระทำการอันเป็นความผิดต่อระเบียบข้อบังคับการทำงาน แล้วพิพากษาว่า นายจ้างเลิกจ้างด้วยเหตุนี้ถือว่าเป็นธรรมแล้ว แต่ลูกจ้างไม่เห็นด้วยจึงอุทธรณ์ด้วยการโต้เถียงว่า นายจ้างมิได้ปฏิบัติตามขั้นตอนการลงโทษทางวินัย เช่น สอบสวนไม่เสร็จภายในเวลาที่กำหนด มิได้ขอขยายเวลาการสอบสวนตามระเบียบ เป็นต้น สิ่งเหล่านี้ศาลฎีกาจะรับพิจารณาให้ลูกจ้างหรือไม่ ? |
 | การถอนฟ้อง กับ คดีแรงงาน
ในการดำเนินกระบวนพิจารณาคดีแรงงาน มีคำถามที่น่าสนใจ คือ กรณีจำเลยยื่นคำให้การแล้ว โจทก์ขอถอนฟ้อง จำเป็นที่ศาลจะต้องสอบถามความเห็นของจำเลยว่าจะคัดค้านก่อนหรือไม่ ?
|
 | เมื่อพนักงานตรวจแรงงานลืมสั่งจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ทำอย่างไรดี ?
ลูกจ้างที่ถูกเลิกจ้างมักพากันไปร้องต่อพนักงานตรวจแรงงานให้ออกคำสั่งให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าแทนที่จะไปฟ้องคดีต่อศาลโดยทันที ไม่รู้ว่าเป็นเพราะเหตุใด ?
|
|