กฎหมายวิธีพิจารณาคดีแรงงาน
 | เลิกจ้างเพราะละทิ้งหน้าที่ 3 วัน กับ ละทิ้งหน้าที่ 3 เดือน เลือกอะไรดี ? ในองค์กรใหญ่ๆอาจเป็นไปได้ที่ลูกจ้างไม่มาทำงานเป็นเวลานานแต่นายจ้างก็ยังไม่ได้เลิกจ้าง ปล่อยให้เนิ่นนานไปนับเดือนหรือหลายเดือนถึงจะเลิกจ้าง ครั้นพอจะเลิกจ้างจะอ้างเหตุอะไรดี ระหว่างละทิ้งหน้าที่ 3 วันทำงานติดต่อกันโดยไม่มีเหตุอันควร กับ ละทิ้งหน้าที่ 3 เดือน ติดต่อกันโดยไม่มีเหตุอันควร ? |
 | การฟ้องผู้รับเหมาชั้นต้นให้รับผิดตามคำสั่งพนักงานตรวจแรงงาน พนักงานตรวจแรงงานมีหน้าที่วินิจฉัยข้อร้องเรียนของลูกจ้างโดยมีอำนาจสั่งให้นายจ้างจ่ายเงินค่าจ้าง ค่าล่วงเวลาและเงินอื่นๆตามกฎหมายคุ้มครองแรงงานให้ลูกจ้างได้ ในกรณีผู้ร้องเรียนเป็นลูกจ้าง พนักงานตรวจแรงงานมักเรียกผู้ประกอบกิจการที่ใช้วิธีจ้างเหมาแรงงานให้มาชี้แจงและสั่งให้ร่วมรับผิดในเงินดังกล่าวด้วย โดยเห็นว่า ผู้ประกอบกิจการเป็นนายจ้างด้วย ตามคำจำกัดความคำว่า นายจ้าง ตามความในมาตรา 5 กฎหมายคุ้มครองแรงงาน |
 | พนักงานตรวจแรงงานฟ้องแย้งเรียกให้นายจ้างซึ่งเป็นโจทก์จ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าที่ตนมิได้สั่งได้หรือไม่ ?
ลูกจ้างไปร้องต่อพนักงานตรวจแรงงานอ้างว่า นายจ้างเลิกจ้างโดยไม่จ่ายค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า พนักงานตรวจแรงงานได้เรียกนายจ้างมาสอบข้อเท็จจริงแล้ว จึงออกคำสั่งให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยให้ลูกจ้าง ส่วนสินจ้างนั้น ในคำสั่งมิได้กล่าวถึงแต่อย่างใด ต่อมานายจ้างเป็นโจทก์ฟ้องพนักงานตรวจแรงงานเป็นจำเลยต่อศาล ขอให้เพิกถอนคำสั่งที่ให้จ่ายค่าชดเชย โดยอ้างว่า จำเลยวินิจฉัยข้อเท็จจริงไม่ถูกต้อง คำสั่งจึงไม่ชอบ จำเลยยื่นคำให้การต่อสู้คดีว่า จำเลยวินิจฉัยข้อเท็จจริงถูกต้องแล้ว คำสั่งให้จ่ายค่าชดเชยจึงชอบแล้ว ขอให้ยกฟ้อง |
 | เหตุผลในการบอกเลิกจ้าง กับ สิทธิในการยกขึ้นอ้างในศาล
กฎหมายคุ้มครองแรงงาน มาตรา 17 วรรคสาม บอกไว้ว่า ในกรณีที่นายจ้างเป็นฝ่ายบอกเลิกสัญญา ถ้านายจ้างไม่ได้ระบุเหตุผลไว้ในหนังสือบอกเลิกสัญญาจ้าง นายจ้างจะยกเหตุมาตรา 119 ขึ้นอ้างในภายหลังไม่ได้ |
 | สิทธิในดอกเบี้ยในค่าเสียหายตามคำสั่งคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ กับ การไม่ใช้สิทธิฟ้องแย้งเรียกดอกเบี้ยของลูกจ้าง
เดือนที่แล้ว เขียนเรื่อง ปัญหาการชำระดอกเบี้ยในค่าเสียหายตามคำสั่งคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ โดยสรุปว่า แม้คณะกรรมการฯจะมิได้สั่งให้นายจ้างชำระดอกเบี้ยในค่าเสียหายไว้ในคำสั่งด้วยก็ไม่เป็นไร หากลูกจ้างเข้ามาเป็นจำเลยร่วมในคดีที่นายจ้างฟ้องเพิกถอนคำสั่งคณะกรรมการฯ ลูกจ้างย่อมฟ้องแย้งมาในคำให้การเพื่อเรียกให้นายจ้างชำระดอกเบี้ยให้ หากนายจ้างแพ้คดี ลูกจ้างย่อมได้รับดอกเบี้ยด้วยในคราวเดียวกัน |
|